ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ข้อสอบ ภาค กข การบริหารงานในหน้าที่

ข้อสอบภาค กข การวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภาค ก 4 การบริหารและการจัดการคุณภาพการมัธยมและประถมศึกษา

ภาค ก 4 การบริหารและการจัดการคุณภาพการมัธยมและประถมศึกษา

 ทำไมต้องมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
          หากมองย้อนอดีตก่อนปี พ.ศ.  2542 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษาต่างก็ทำหน้าที่ภาระกิจของตนเองไป จนกระทั่งรัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย ได้ประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นการเริ่มต้นแห่งการเปลียนแปลงในวงการการศึกษามากมายทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา หรือ ประถมศึกษา เปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกระทรวงการศึกษา การศาสนา และวัฒนธรรมบ้าง สุดท้ายเป็นกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม มีการรวมกรมวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษากแห่งชาติ และกรมสามัญศึกษา โดยใช้ชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรม  จัดการศึกษาระดับจังหวัดโดยที่เรียกแบบเท่ห์ๆ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา" โดยมีปรัชญาเดิมว่า กระทรวงศึกษาธิการ มี 14 กรม(เรียกกันเท่ห์ๆว่า 14 องค์ชาย)  เป็นกระทรวงใหญ่มาก ขาดเอกภาพในบริหารเชิงคุณภาพ จึงได้รวบเอาทบวงมหาวิทยาลัยมาร่วมวงกับกระทรวงศึกษาธิการด้วย ยิ่งทำให้การบริหารคุณภาพถดถอยลงมากๆ บางมหาวิทยาลัยต้องหาทางออกโดยออกนอกระบบของรัฐ บางมหาวิทยาลัยขอเป็นแค่ในกำกับของรัฐเท่านั้น  ส่วนกรมอาชีวศึกษาท่านฉลาดมากก็พากรมของท่าน กระโดดออกมาไม่ยอมอยู่ร่วมวงกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียนก็กระโดดไปอยู่สำนักงานปลัดกระทรวง เหลือแต่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมวิชาการ และกรมสามัญศึกษา(ซึ่งอธิบดีเป็น 9 อรหันต์) ตกลงกันขออยู่เป็นเขตพื้นที่การศึกษาด้วยกัน
          เมื่อเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วเกิดอะไรขึ้น?
1. ต้องมีวัฒนธรรมองค์เหมือนกัน
    ชาวประถมศึกษาและชาวมัธยมศึกษา มีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน
         วัฒนธรรมของชาวประถมศึกษา
เราต้องยอมรับว่าชาวประถมศึกษาของเรา เมื่อก่อนสังกัดอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศีกษาแห่งชาติ เมื่อปี 2520 การบริหารองค์กรอยู่ในรูปแบบ"องค์คณะ" ทุกระดับตั้งแต่ สปช สปจ สปอ และกลุ่มโรงเรียน ซึ่งเป็นข้อดีป้องกันผู้บริหารใช้อำนาจเผด็จการ แต่การบริหารแบบระบบอุปถัมภ์ ก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมไทย เพราะฉะนั้นเมื่อมาอยู่ในระบบสำนักงานเขตพื้นที่แล้ว มีการเลือกตั้งขึ้น รับประกันได้เลยว่า ชาวประถมศึกษาชนะผู้แข่งตลอดกาล และเรื่องของการสอบเข้าสู่ตำแหน่ง ชาวประถมศึกษาเขาฝึกซ้อมการสอบแข่งกันมาทุกระดับก็ไม่มีคู่แข่งหน้าจะชนะได้เลย ยกตัวอย่างที่ผ่านมา กคศ. เปิดโอกาสให้ ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด มาสอบแข่งขันเป็นรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อดูข้อมูลแล้วปรากฏว่า ผู้ช่วยผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัดมาเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 ได้แก่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด และผู้ช่วยศึกษาธิการจัหวัดรั้งตำแหน่งที่ 3 ทุกครั้ง หากมีการสังเกตการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ต่างๆ เท่าที่รับทราบข้อมูลพออนุมาณได้ว่า ความพึงพอใจ หรือความก้าวทันสมัย หรือ การบริหารองค์กรให้มีคุณภาพ เรียงตามลำดับดังนี้คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มาจาก ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด  ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัด  แต่ล่วงเลยมา6-7 ปี แล้วพฤติการดังนี้เริ่มปรับเปลี่ยนคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่พฤติการลึกๆ ยังวิเคราะห์ถึงอดีดที่มาของแต่ละท่านได้เหมือนกัน 
         วัฒนธรรมของชาวมัธยมศึกษา
        นับตั้งแต่กรมสามัญศึกษาได้ตั้งขึ้น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ไม่มีหน่วยงานรองรับ กระทรวงฝาก ภาระกิจงานบริหารได้ฝากไว้กับศึกษาธิการจังหวัด หรือศึกษาธิการอำเภอ จนกระทั่งเป็นสำนักงานสามัญศึกษา ซึ่งผู้บริหารหน่วยงานคือ ประธานคณะกรรมการสามัญศึกษาจังหวัด ภายหลังปรับเปลี่ยนเป็นผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด เป็นการบริหารงานแบบแนวดิ่งแก่การสั่งการมาจากอธิบดีกรมสามัญศึกษา และผู้อำนวยการสามัญศึกษา สิ้นสุดที่โรงเรียน บริหารการศึกษายึดตัวผู้นำเป็นหลัก หากผู้นำดี มีคุณธรรม มีคุณภาพ มีผลทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าการศึกษามีคุณภาพแต่ทว่า ผู้นำขาดคุณธรรม ไม่มีคุณภาพ ก็เป็นความโชคร้ายขององค์กรเช่นกัน
     ชาวสามัญศึกษาจังหวัด แม้จะมีผุ้บังคับบัญชาเป็นบุคคล แต่ก็อยู่ด้วยความรักความอบอุ่น มีอะไรช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ไม่มีการแข่งแย่งชิงดี ชิงเด่น การโยกย้ายก็มีการเอื้อเฟื้อกัน นับถือความเป็นอาวุโส  ผู้บริหารที่อาวุโส จะดูแลช่วยเหลือผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอายุน้อย วัยวุฒิน้อยกว่า ผู้มีอายุน้อยกว่า จะเคารพให้เกียรติท่านที่อาวุโสกว่า ทั้งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จนกระทั่งขนาดเล็ก จะมีการเรียกขานแบบพี่แบบน้อง การเป็นผู้บริหารสถานศึกษานั้นส่วนใหญ่มาจากการทำงาน มีประสบการณ์ จนได้รับการคัดเลือก ซึ่งไม่เคยชินกับการสอบคัดเลือกฉะนั้นเมื่อมีกระบวนการสอบเข้าสู่ตำแหน่ง จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก
         วัฒนธรรม ชาวสำนักงานศึกษาธิการ

      ชาวสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ก็อยู่แบบระบบราชการ ซึ่งบุคคลิกภาพจะเน้นในการเป็นนักวิชาการ นักปฏิบัติตามระเบียบราชการอย่างเคร่งครัด พูดง่ายๆ จะเนี๋ยบไปเกือบทุกเรื่องศึกษาธิการอำเภอ หรือศึกษาธิการจังหวัดบริหารคนที่มีความรู้ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย บริหารอยู่ที่สำนักงาน มีผู้มาติดต่อที่สำนักงานเอง ข้าราชการอยู่สำนักงานก็ไม่มากนัก ซึ่งต่างกับโรงเรียนผู้อำนวยการต้องแก้ปัญหาแต่วันไม่รู้สักกี่เรื่อง เดี๋ยวก้เด็กตีกัน รบกัน เดี๋ยวครูไม่เข้าใจกัน นินทาว่าร้ายต่อกัน บางแห่งพบครูประเภทประสบการณ์แก่กล้า พูดง่ายคือ เขี้ยวลากดิน ฯลฯ ฉะนั้นผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่มาจากศึกษาธิการจังหวัด จึงยึดระเบียบแบบแผนเป็นหลัก มุ่งผลสัมฤทธิ์สูง
      ปัจจุบันนี้ไม่ว่า ผู้อำนวยการเขตพื้นที่มาจาก สปจ ศสจ หรือ ศธจ ก็พยายามบูรณาการการบริหารให้สนองนนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การเดินทางไปทำงานของบุคลากรลำบากยิ่งขึ้น
         จากเมื่อก่อนชาวประถมศึกษามีความใกล้ชิดกัน เรื่องทุกเรื่องจะเบ็ดเสร็จอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาอำเภอ(สปอ) การบริหารงานมีความอบอุ่น เข้าใจซึ่งกันและกัน การเดินทางไปติดต่อราชการก็ไม่ไกล
         ส่วนชาวมัธยมศึกษาเขาก็มีสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด บริหารการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีปัญหาอะไรก็แก้ปัญหากันไป การเดินทางไปสำนักงานก็ไกลไปบ้างแต่ก็ยอมรับกันได้
3. อาคารสถานที่ตอนแรกๆก็มีปัญหากันอยู่มากมาย

ปัญหาด้านอาคารสถานที่          ดูเหมือนจะมีเสียงบ่นอยู่บ้างแต่สักระยะหนึ่งคงจะชินไปเอง สำหรับที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคงไม่มีปัญหาอะไร อย่างน้อยหน่วยงานต้นสังกัดจัดสรรงบประมาณมาให้ปรับปรุง ซึ่งจะใช้อาคารเรียนของหน่วยงานราชการเดิม แต่ที่สำคัญอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน การติดต่อราชการระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา กับโรงเรียนค่อนข้างเสียเวลานาน  ค่าใช้จ่ายสูง
4. การสือสารเทคโนโลยี่

  1. ปัญหาด้านการสื่อสาร/เทคโนโลยี่  สภาพความเป็นจริงนี้ เมื่อมีการรวมโรงเรียนประถม
ศึกษาเดิม(ช่วงชั้น 1-2)  และกรมสามัญศึกษาเดิม(ช่วงชั้น 3-4 ) ซึ่งมีประมาณ 23,000 โรงเรียน  การสื่อสารย่อมไม่พร้อมทั้งหมด โรงเรียนช่วงชั้น3-4 ส่วนใหญ่จะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี่ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เนต ส่วนโรงเรียนช่วงชั้นที่1-2  ส่วนมากยังไม่มีแม้แต่โทรศัพท์ ดังนั้นทำให้การบริหารการศึกษาแบบใหม่มีปัญหา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(บางเขต) ควรเร่งดำเนินการเรื่องนี้ ด้วย
5. ด้านวิชาการ

  1. ปัญหาด้านวิชาการ สภาพปัจจุบันหลักการจัดการศึกษาช่วงชั้นที่1-2 และ3-4 ได้จัดตามลักษณะสภาพชุมชน และความต้องการความสนใจของผู้เรียน  แต่ที่จะมีปัญหาอยู่ที่กระบวนการติดตามผล ซึ่งเป็นหน้าที่ ของฝ่ายติดตามประเมินของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคือกลุ่มศึกษานิเทศก์  ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ใช่ว่า จะเก่งทุกเรื่อง จะเก่งกว่าครูทุกคน จะนิเทศครูได้ทุกเรื่อง ศึกษานิเทศก์ใช่ว่า จบการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วจะเลอเลิศเก่งไปกว่าครูหรอก บางคนเคยแต่นิเทศก์แต่ช่วงชั้นที่1-2 จะไปนิเทศก์ช่วงชั้นที่3-4 ตามความเคยชินนั้นไม่ได้หรอก ขาดการยอมรับจากเพื่อนครู ศึกษานิเทศก์6-7 หรือ 8 บางคนเวลาไปนิเทศก์ติดตาม วางมาดนิเทศก์ต่อครู ให้เขียนสมุดเยี่ยมก็ไม่ยอมเขียนดื้อดันจะเขียนสมุดตรวจราชการของโรงเรียน ยังขาดองค์ความรู้เชิงบริหารเสียเลยว่า สมุดตรวจราชการใครมีสิทธิเขียน? ทำไมผู้บริหารไม่อยู่โรงเรียน? ทำอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ขอฝากให้ไว้ให้ศึกษานเทศก์ช่วงชั้น1-2 คิดด้วย หากได้รับมอบหมายให้ไปนิเทศช่วงชั้นที่3-4 ต้องเข้าไปอย่างฉลาดและเฉลียว มิใช่เข้าไปอย่างฉลาดแต่ขาดเฉลียว อย่างน้อยต้องศึกษา วัฒนธรรม/โครงสร้างแผนภูมิการบริหารโรงเรียนเสียก่อน ครั้งแรกเข้าไปไม่ต้องให้เป็นทางการ ควรจะเข้าไปเยี่ยมเยี่ยม ถามความทุกข์สุขซึ่งกันและกันก่อน ทำให้ครูเกิดศรัทธาในตัวศึกษานิเทศก์ก่อน นิสัยคนไทยเมื่อศรัทธาใครแล้ว ผู้นั้นจะดี เลวชั่วอย่างไรจะไม่คำนึง สามารถทำให้ได้ทุกอย่าง จึงขอฝากสำนักงานเขตพื้นการศึกษาช่วยกำชับกลุ่มศึกษานิเทศก์ ว่า อย่าวางมาดนิเทกศ์   นี้ปัญหาเบื้องต้นเชิงนิเทศติดตาม และยังมีปัญหาอื่นๆอีกมากมาย
6. ด้านบุคลากร
ปัญหาด้านบุคลากร ขณะนี้สำนักงานเขตฯบางแห่งมีบุลากรมากเกินไปแต่ไม่มีคุณภาพ ยังติดอยู่กับวัฒนธรรมเดิมๆ ตอนนี้ครู-อาจารย์ที่ติดต่อราชการไม่ใช่ครูกลุ่มเดิมของตนเอง อย่างน้อยต้องคิดเสมอว่า สำนักงานเขตพื้นที่ฯ คือหน่วยงานบริการ ไม่ใช่บังคับบัญชา  การที่ครูติดต่อสำนักงานแล้วกลับโรงเรียนมาด้วยความสบายใจ และอยากจะไปติดต่องานอีก หรือ มาประชาสัมพันธ์ว่าการบริหารแบบเขตพื้นทีดีนั้นคือเป็นความสำเร็จของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา แต่ถ้ามีเสียงบ่นเช้า บ่าย ค่ำ เป็นบ่งชี้ว่า การบริหารแบบเขตพื้นที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง  อีกประการหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษาควรพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยี่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เช่น เจ้าหน้าที่ด้าน Eis, Gpa ฯลฯ เพราะเมื่อสำนักงานเขตฯขอข้อมูลโรงเรียนไปได้จัดทำเป็น แผ่นซีดีรอม มาส่งให้เจ้าหน้าไม่สามารถทำได้ ต้องให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนมาส่งมาทำเองนั้นครูต้องเสียเวลา ในการสอนนักเรียน เสียค่าใช้ในเดินทางมาสำนักงานเขตฯ จึงขอฝากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา(บางเขต)ได้พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีให้มีความรู้ความชำนาญเพื่อบริการโรงเรียนด้วย ปัญหาที่สะท้อนให้เห็นนี้ เป็นปัญหา หนึ่งในหมื่นส่วนของการบริหารแบบเขตพื้นที่ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาว่า ทำอย่างไรให้บุคลากรทั้ง 3 หน่วยงานที่สามารถทำงานกลมเกลียวกัน หน่วยงานที่เคยอยู่ 3 หน่วยงานได้รับการบริการอย่างพึงพอใจและมีประสิทธิภาพ และคุณภาพและสามารถบอกได้ว่า เมื่อบริหารแบบเขตพื้นที่โรงเรียน นักเรียน ชาวบ้านได้อะไรดีขึ้นกว่าเดิม จนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า การบริหารแบบเขตพื้นที่ดีจริงๆ  เสมือนท่านได้ทำกล้วยบวชชีสัก 1 หม้อแล้วผู้บริโภคกล่าวว่า กล้วยบวชชีหม้อนี้อร่อยจริงๆ

     จากเหตุผลดังกล่าวอาจทำให้คุณภาพการบริหารเชิงวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนลดลง.....

           ภาพอนาคตของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
               1. สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาจังหวัด........เขต.....    เมื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาได้แยกไป ก็ยังเหลือโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนเอกชน ก็เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการเขตพื้นที่ประถมศึกษาไปบ้าง เช่น บางเขตพื้นที่เหลือโรงเรียนประถมศึกษาไม่เกิน 100 โรงเรียน ก็ถือว่า เหมาะสมที่สุดแล้ว การบริหารงานได้มีความกระชับยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว และคาดว่าจะมีการเคลื่อนเพื่อให้เกิดเป็นสำนักงานเขตพื้นที่อำเภอต่างๆ ความคิดส่วนตัวมีความเห็นด้วย เพราะเมื่อเป็นสำนักงานเขตพื้นที่อำเภอทำให้การบริหารกระทัดรัดยิ่งขึ้น ความคล่องตัว ความใกล้ชิดมีมากเสมือนสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ  ก่อนปี 2546
      ได้นั่งสนทนากับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แห่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ สอบถามความพึงพอใจ ระหว่างการทำงานสำนักงานเขตพื้นที่ กับ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ พอสรุปได้ว่า เป็นสำนักงานการประถมศึกษาดีกว่าด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การอบอุ่นในการทำงาน การเดินทางปฏิบัติหน้าที่ สะดวกกว่า ฯลฯ
       ดังนั้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำเภอ เกิดขึ้นให้คิดเสียว่า วัฒนธรรมการศึกษาวิวัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติ
            2. สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัด.................. เริ่มแรกคาดว่า น่าจะมี 41 เขตพื้นที่ ซึ่งแยกตามศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ในอนาคตคาดว่า จะเกิดเป็น 76 เขตพื้นที่ สอดคล้องกับ สำนังานเขตพื้นที่อำเภอ...  สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความล้มเหลวของการจัดการศึกษาที่ผ่านมา ที่มองแต่ปฏิรูปโครงสร้าง ซึ่งมองว่า ต้องการให้การศึกษาเป็นเอกภาพโดยมองว่าเหมือนการรวมสิ่งของต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ซึ่งเป็นการรวมเอาความรู้สึก วัฒนธรรมขององค์กรต่างๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก
               ขอแสดงความยินดีกับชาวมัธยมศึกษาที่ได้มีโอกาสมารวมกันอีกครั้งหนึ่ง 6 ปีที่ผ่านมา ขอให้สลัดคราบวัฒนธรรมที่เห็นแก่ตัว ชิงดีชิงเด่นกัน ขึ้นสู่อำนาจตามความต้องการของกิเลส บางคนไม่ได้ด้วยเล่ห์ เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ เอาคาถา มาหันหวล บางคนตะเกียกตะกายขึ้นวิ่งบนทางด่วน ให้ได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อสนองกิเลสของตน ขอวิงวอนให้ดึงวัฒนธรรมมัธยมศึกษาครั้งก่อนๆ ซึ่งเต็มไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บรรยากาศในการบริหารเต็มไปด้วยความอบอุ่น ยิ้ม ไหว้ ให้เกียรติกัน รู้จักคำว่า อาวุโส พี่ใหญ่ดูแลน้องเล็ก น้องเล็กก็เคารพให้เกียรติพี่ใหญ่ อื่นๆ อีกมากมาย ไม่สามารถกล่าวในที่หมด ให้กลับมาจงได้
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/365208



อ่านทั้งหมด / โหลดเอกสารได้ที่  






ฟรี...ข้อสอบออนไลน์ โดย ติวสอดอทคอม  (อ.นิกร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อัพเดท / เรื่องใหม่

ข่าวการศึกษา

หนังสือราชการ

1.¢èÒÇ»ÃСÒȨҡ ʾÃ. 2.¢èÒǨҡࢵ¾×é¹·ÕèµèÒ§æ

ข่าวประจำวัน

วิดีโอคลิปน่าสนใจ

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
กลับหน้าหลัก