ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ข้อสอบ ภาค กข การบริหารงานในหน้าที่

ข้อสอบภาค กข การวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภาค ข 11 การนิเทศการศึกษา

ภาค ก 11 การนิเทศการศึกษา

อ่านทั้งหมด / โหลดเอกสารได้ที่  


 เอกสารประกอบการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์
หน่วยที่ 2     เรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา

1.   ความหมายการนิเทศการศึกษา
                จากการศึกษาแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เกี่ยวกับความหมายของการนิเทศการศึกษา สรุปได้ว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยความร่วมมือระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ตามแนวทางของประชาธิปไตยที่เน้นการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และผู้รับการนิเทศยอมรับเพื่อประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา

2.   จุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา
                งานนิเทศการศึกษาเป็นงานที่ปฏิบัติกับครู เพื่อให้เกิดผลต่อคุณภาพผู้เรียนโดยตรง โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ
                2.1    เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน
                2.2    เพื่อช่วยให้ครูสามารถวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
                2.3    เพื่อช่วยให้ครูค้นหาวิธีการทำงานด้วยตนเอง
                2.4    เพื่อช่วยให้ครูมีความศรัทธาในวิชาชีพของตน
                2.5    เพื่อช่วยให้ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
                2.6    เพื่อช่วยให้ครูมีทักษะในการปฏิบัติงาน เช่น การพัฒนาหลักสูตร การปรับปรุงการเรียนการสอน การใช้และผลิตสื่อการสอน การวัดและประเมินผล เป็นต้น
                2.7    เพื่อช่วยครูให้สามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้

3.   บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิเทศ
                ผู้นิเทศมีภาระหน้าที่หลายอย่างแต่หน้าที่หลักคือการช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริม การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพการสอน ซึ่งต้องเกี่ยวกับกับงานหลายด้านและบุคลากรหลายฝ่าย
นักการศึกษาหลายท่านจึงได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้นิเทศไว้ ดังนี้
                3.1    บทบาทเป็นผู้ประสาน (Coordinator) เช่น ประสานครูแต่ละระดับให้ช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน ประสานชุมชน ผู้ปกครอง
                3.2    บทบาทเป็นที่ปรึกษา (Consultant) โดยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนะแก่ครู และผู้รับการนิเทศทั่วไป
                3.3    บทบาทเป็นผู้นำกลุ่ม (Group Leader) คือ รู้วิธีที่จะทำงานร่วมกับกลุ่มให้ประสบผลสำเร็จ
                3.4    บทบาทเป็นผู้ประเมิน (Evaluator) ได้แก่ เป็นผู้ประเมินผลการสอน ประเมินผลหลักสูตร
                3.5    บทบาทในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านการวัดประเมินผล
                3.6    บทบาทเป็นนักวิจัย เป็นผู้ที่นำผลการวิจัยเสนอแนะให้ครูใช้ และดำเนินการวิจัยโดยเฉพาะการวิจัยปฏิบัติการ
                3.7    บทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการช่วยเหลือให้ครูมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพัฒนา
                3.8    เป็นครูต้นแบบ คือ สามารถสาธิตการสอนที่มีประสิทธิภาพแก่ครู และแนะนำวิธีการสอนแก่ครูได้

4.   งานการนิเทศการศึกษา
                งานนิเทศการศึกษาเป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีขอบข่ายงานที่สำคัญ ดังนี้
                4.1    งานการให้ความช่วยเหลือครูโดยตรง (Direct Assistance) โดยผู้นิเทศจะให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ครู เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนด้วยวิธีการนิเทศแบบต่าง ๆ เช่น การนิเทศแบบคลินิก
                4.2    งานพัฒนาบุคลากร (Staff Development) โดยการจัดโอกาสให้ได้รับการเรียนรู้ เพื่อให้ครูสามารถปรับปรุงการเรียนการสน เช่น การจัดประชุม อบรม เยี่ยมชั้นเรียน แนะนำวิธีสอน สาธิตการสอน ตลอดทั้งการประเมินครู เป็นต้น
                4.3    งานการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) โดยผู้นิเทศและครูควรร่วมกันในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม เช่น การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนรู้ การตรวจสอบคัดเลือกประเมินสื่อการเรียนการสอนแต่กลุ่มสาระ เป็นต้น
                4.4    งานการบริหาร (Administration) โดยผู้นิเทศจะต้องดำเนินงานที่ต้องมีการตัดสินใจและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน นั่นคือผู้นิเทศต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน ติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน
                4.5    งานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยผู้นิเทศสามารถช่วยให้ครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเอง ปรับปรุงพัฒนาการสอนของตนเองได้ โดยการช่วยครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน
                4.6    งานด้านการวัดและประเมินผล ได้แก่ การประเมินคุณภาพของผู้เรียน การให้ข้อเสนอแนะครูให้สามารถสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลได้อย่างเหมาะสม และดำเนินการวัดประเมินได้อย่างมีคุณภาพ

5.   กิจกรรมการนิเทศ
                กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการนิเทศการศึกษา คือ เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติงานของครู  ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการนิเทศบรรลุเป้าหมาย กิจกรรมการนิเทศมีมากมาย ซึ่งผู้นิเทศสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนิเทศแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ครูและนักเรียน ดังนั้นผู้นิเทศจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการนิเทศ โดยจะขอนำเสนอกิจกรรมการนิเทศที่สำคัญและใช้มาก 23 กิจกรรม ดังนี้
                5.1    การบรรยาย (Lecturing) เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจของผู้นิเทศไปสู่รับการนิเทศ ใช้เพียงการพูดและการฟังเท่านั้น
                5.2    การบรรยายโดยใช้สื่อประกอบ (Visualized Lecturing) เป็นการบรรยายที่ใช้สื่อเข้ามาช่วย เช่น สไลด์ แผนภูมิ แผนภาพ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังมีความสนใจมากยิ่งขึ้น
                5.3    การบรรยายเป็นกลุ่ม (Panel presenting) เป็นกิจกรรมการให้ข้อมูลเป็นกลุ่มที่มีจุดเน้นที่การให้ข้อมูลตามแนวความคิดหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
                5.4    การให้ดูภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ (Viewing film and television) เป็นการใช้เครื่องมือที่สื่อทางสายตา ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีโอเทป เพื่อทำให้ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้และเกิดความสนใจมากขึ้น
                5.5    การฟังคำบรรยายจากเทป วิทยุ และเครื่องบันทึกเสียง (Listening to tape, radio recordings) กิจกรรมนี้เป็นการใช้เครื่องบันทึกเพื่อนำเสนอแนวความคิดของบุคคลหนึ่งไปสู่ผู้ฟังคนอื่น
                5.6    การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ (Exhibiting materials and equipments) เป็นกิจกรรมที่ช่วยในการฝึกอบรมหรือเป็นกิจกรรมสำหรับงานพัฒนาสื่อต่าง ๆ
                5.7    การสังเกตในชั้นเรียน (Observing in classroom) เป็นกิจกรรมที่ทำการสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงของบุคลากร เพื่อวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งจะช่วยให้ทราบจุดหรือจุดบกพร่องของบุคลากร เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานและใช้ในการพัฒนาบุคลากร
                5.8    การสาธิต (Demonstrating) เป็นกิจกรรมการให้ความรู้ที่มุ่งให้ผู้อื่นเห็นกระบวนการและวิธีการดำเนินการ
                5.9    การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interviewing) เป็นกิจกรรมสัมภาษณ์ที่กำหนดจุดประสงค์ชัดเจนเพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ตามต้องการ
                5.10  การสัมภาษณ์เฉพาะเรื่อง (Focused interviewing) เป็นกิจกรรมการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยจะทำการสัมภาษณ์เฉพาะโรงเรียนที่ผู้ตอบมีความสามารถจะตอบได้เท่านั้น
                5.11  การสัมภาษณ์แบบไม่ชี้นำ (Non-directive interview) เป็นการพูดคุยและอภิปราย หรือการแสดงแนวความคิดของบุคคลที่สนทนาด้วย ลักษณะการของการสัมภาษณ์จะสนใจกับปัญหาและความสนใจของผู้รับการสัมภาษณ์
                5.12  การอภิปราย (Discussing) เป็นกิจกรรมที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มขนาดเล็ก มักใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ
                5.13  การอ่าน (Reading) เป็นกิจกรรมที่ใช้มากกิจกรรมหนึ่ง สามารถใช้ได้กับคนจำนวนมาก เช่น การอ่านข้อความจากวารสาร มักใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น
                5.14  การวิเคราะห์ข้อมูลและการคิดคำนวณ (Analyzing and calculating) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการติดตามประเมินผล การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการควบคุมประสิทธิภาพการสอน
                5.15  การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นกิจกรรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอแนว ความคิดวิธีการแก้ปัญหาหรือใช้ข้อแนะนำต่าง ๆ โดยให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความคิดโดยเสรี ไม่มีการวิเคราะห์หรือวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด
                5.16  การบันทึกวิดีโอและการถ่ายภาพ (Videotaping and photographing) วิดีโอเทปเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งภาพและเสียง ส่วนการถ่ายภาพมีประโยชน์มากในการจัดนิทรรศการ กิจกรรมนี้มีประโยชน์ในการประเมินผลงานและการประชาสัมพันธ์
                5.17  การจัดทำเครื่องมือและแบบทดสอบ (Instrumenting and testing) กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการใช้แบบทดสอบและแบบประเมินต่าง ๆ
                5.18  การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session) เป็นกิจกรรมการประชุมกลุ่มเพื่ออภิปรายในหัวข้อเรื่องที่เฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มมากที่สุด
                5.19  การจัดทัศนศึกษา (Field trip) กิจกรรมนี้เป็นการเดินทางไปสถานที่แห่งอื่น เพื่อศึกษาดูงานที่สัมพันธ์กับงานที่ตนปฏิบัติ
                5.20  การเยี่ยมเยียน (Intervisiting) เป็นกิจกรรมที่บุคคลหนึ่งไปเยี่ยมและสังเกตการทำงานของอีกบุคคลหนึ่ง
                5.21  การแสดงบทบาทสมมติ (Role playing) เป็นกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคล กำหนดสถานการณ์ขึ้นแล้วให้ผู้ทำกิจกรรมตอบสนองหรือปฏิบัติตนเองไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น
                5.22  การเขียน (Writing) เป็นกิจกรรมที่ใช้เป็นสื่อกลางในการนิเทศเกือบทุกชนิด เช่น การเขียนโครงการนิเทศ การบันทึกข้อมูล การเขียนรายงาน การเขียนบันทึก ฯลฯ
                5.23  การปฏิบัติตามคำแนะนำ (Guided practice) เป็นกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติในขณะที่ปฏิบัติมีการคอยดูแลช่วยเหลือ มักใช้กับรายบุคคลหรือกลุ่มขนาดเล็ก

6.   กระบวนการในการนิเทศ (Supervisory Process)
                กระบวนการในการนิเทศการศึกษา หมายถึง แบบแผนของการนิเทศการศึกษาที่จัด ลำดับไว้อย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบแบบแผน มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานไว้ชัดเจน มีเหตุผลและสามารถดำเนินการได้ โดยมีนักการศึกษาหลายท่านได้นำเสนอกระบวนการในการนิเทศไว้หลายท่าน แต่ในที่นี้ขอนำเสนอกระบวนการนิเทศที่สำคัญ ดังนี้
                6.1    กระบวนการนิเทศของสงัด  อุทรานันท์ (2530) ซึ่งเป็นกระบวนการนิเทศที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย 5 ขั้นตอน เรียกว่า “PIDER” ดังนี้
                        (1)    การวางแผน (P-Planning) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำการประชุม ปรึกษาหารือ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศที่จัดขึ้น
                        (2)    ให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงสิ่งที่จะดำเนินการว่าต้องอาศัยความรู้ ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไรให้ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ ขั้นตอนนี้จำเป็น
ทุกครั้งสำหรับเริ่มการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และเมื่อมีความจำเป็นสำหรับงานนิเทศที่ยังเป็นไปไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ถึงขั้นที่พอใจ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทบทวนให้ความรู้
ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
                        (3)    การดำเนินการนิเทศ (Doing-D) ปะกอบด้วยการปฏิบัติงาน 3 ลักษณะ คือ การปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ (ครู) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ (ผู้นิเทศ) การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ (ผู้บริหาร)
                        (4)    การสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ (Reinforcing-R) เป็นขั้นตอนของการเสริมแรงของผู้บริหาร ซึ่งให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขั้นนี้อาจดำเนินไปพร้อม ๆ กับผู้รับการนิเทศที่กำลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นแล้วก็ได้
                        (5)    การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E) เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศนำการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศ หากพบว่ามีปัญหาหรือมีอุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผล สมควรที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขอาจทำได้โดยการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ปฏิบัติใหม่อีกครั้ง ในกรณีที่ผลงานยังไม่ถึงขั้นน่าพอใจ หรือได้ดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมดไปแล้ว ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ สมควรที่จะต้องวางแผนร่วมกันวิเคราะห์หาจุดที่ควรพัฒนา หลังใช้นวัตกรรมด้านการเรียนรู้เข้ามานิเทศ
                6.2    กระบวนการนิเทศโดยใช้วงจรของเดมมิง (Circle Demming Cycle)
                        การนำวงจรเดมมิง (Demming circle) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า P-D-C-A
มาใช้ในการดำเนินการนิเทศการศึกษา โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ
4 ขั้นตอน คือ
                        1.   การวางแผน (P-Planning)
                        2.   การปฏิบัติตามแผน (D-Do)
                        3.   การตรวจสอบ/ประเมินผล (C-Check)
                        4.   การปรับปรุงแก้ไข (A-Act)

สรุปเป็นแผนภูมิได้ ดังนี้

การวางแผน
(Plan)
 
การปรับปรุงแก้ไข
(Act)
 
การปฏิบัติตามแผน
(Do)
 
การตรวจสอบ/ประเมินผล
(Check)
 
 














จากแผนภูมิกระบวนการ PDCA แต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้
             1.   การวางแผน (P-Plan)
                   1.1    การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ
                   1.2    การกำหนดจุดพัฒนาการนิเทศ
                   1.3    การจัดทำแผนการนิเทศ
                   1.4    การจัดทำโครงการนิเทศ
             2.   การปฏิบัติงานตามแผน (D-Do)
                   2.1    การปฏิบัติตามขั้นตอนตามแผน/โครงการ
                   2.2    การกำกับติดตาม
                   2.3    การควบคุมคุณภาพ
                   2.4    การรายงานความก้าวหน้า
                   2.5    การประเมินความสำเร็จเป็นระยะ ๆ
             3.   การตรวจสอบและประเมินผล (C-Check)
                   3.1    กำหนดกรอบการประเมิน
                   3.2    จัดหา/สร้างเครื่องมือประเมิน
                   3.3    เก็บรวบรวมข้อมูล
                   3.4    วิเคราะห์ข้อมูล
                   3.5    สรุปผลการประเมิน
             4.   การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (A-Act)
                   4.1    จัดทำรายงานผลการนิเทศ
                   4.2    นำเสนอผลการนิเทศและเผยแพร่
                   4.3    พัฒนาต่อเนื่อง










กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE สรุปเป็นแผนภูมิได้ ดังนี้
 















ในกรณีคุณภาพไม่ถึงขั้น

 
ในกรณีที่ทำยังไม่ได้ผล

 



7.   เทคนิคการนิเทศ
             เทคนิคการนิเทศ หมายถึง วิธีการนำกิจกรรมต่าง ๆ ทางการนิเทศไปใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมกับบุคคล สถานที่ เวลาหรือสถานการณ์นั้น ๆ ในที่นี้จะขอนำเสนอเทคนิคที่ใช้ได้ผลดี 3 เทคนิค คือ
                7.1    เทคนิคการสอนแนะ (Coaching Techniques) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการแนะนำหรือเรียนรู้จากผู้ชำนาญการ (Coach) ในลักษณะที่ได้รับคำแนะนำหรือเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติงาน ในการนำเทคนิคนี้ไปใช้ผู้นิเทศควรมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
                        7.1.1    สร้างความไว้วางใจกับผู้รับการนิเทศ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่น โดยการศึกษาข้อมูลของผู้รับการนิเทศ เช่น จุดเด่น ผลงานเด่น อัธยาศัย การให้คำชมเชย การสร้างบรรยากาศที่ดี
                        7.1.2    ใช้คำถามที่เป็นเชิงของความคิดเห็น ไม่ทำให้ผู้ตอบจนมุมหรือเกิดความไม่สบายใจในการตอบ
                        7.1.3    เสนอแนะแนวทางแก้ไขหรือการพัฒนางานในลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
                        7.1.4    นำข้อเสนอหรือแนวทางที่ร่วมกันคิดให้ผู้รับการนิเทศปฏิบัติ โดยผู้นิเทศคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด หรืออาจต้องสาธิตให้ดู
                7.2    เทคนิคการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัย
                              การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำกระบวนการวิจัยมาเป็นเทคนิคหนึ่งในการนิเทศการศึกษา จำเป็นที่ผู้นิเทศจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำวิจัย และสามารถนำมาใช้ในการดำเนินงานนิเทศการศึกษา ดังนี้
                        1)     การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา ผู้นิเทศจะทำงานร่วมกับครูโดยตรง ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ (ครู) จุดเด่น จุดควรพัฒนาร่วมกับครู วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ลักษณะปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับครู เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล โดยมองในด้านของความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการและเจตคติเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
                        2)     การกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาจากสาเหตุของปัญหา ผู้นิเทศจะร่วมกับผู้รับการนิเทศกำหนดวิธีและแนวทางการนิเทศเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ  คิด พัฒนาสื่อและนวัตกรรม ซึ่งอาจเป็นวิธีการ/กิจกรรมการนิเทศ สื่อการนิเทศ เช่น เอกสาร คู่มือ ชุดพัฒนา สิ่งเหล่านี้จะอยู่บนพื้นฐานของหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิธีการนั้น ๆ ตลอดทั้งมีการหาคุณภาพของสื่อที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความเชื่อถือได้
                        3)     การดำเนินการนิเทศ โดยนำวิธีการ/กิจกรรมที่เป็นสื่อ นวัตกรรมที่พัฒนาไปใช้ในการนิเทศ ในขั้นตอนนี้จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติที่เหมาะสมหรือการอธิบายในเชิงคุณภาพ (พรรณนา)
                        4)     การสรุปผลและเขียนรายงาน โดยการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลไปสรุปผล ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ให้ครอบคลุมทุกประเด็น แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมและมีคุณภาพ จากนั้นเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย โดยกำหนดกรอบการเขียนที่สอดคล้องกับการดำเนินงานวิจัย อาจจะเป็น 3 บท 4 บท หรือ 5 บท แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ให้มีเนื้อหาสาระครอบคลุมรายละเอียดที่กล่าวมาแล้ว
                        5)     การเผยแพร่ หลังจากที่ได้มีการสรุปและเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานแล้ว ผู้นิเทศควรจะได้มีการเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความสนใจนำไปใช้หรือต่อยอดต่อไป การเผยแพร่อาจทำได้หลายวิธี เช่น เวทีการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่หน่วยงานต่าง ๆ จัด การเผยแพร่ในลักษณะของบทความทางวิชาการ การเผยแพร่ทาง Internet เป็นต้น
                7.3    เทคนิคการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
                        รูปแบบกัลยาณมิตรนิเทศ : กรอบความคิดพื้นฐาน
                        กรอบความคิดพื้นฐานของกัลยาณมิตรนิเทศ คือหลักธรรมความเป็นกัลยาณมิตร
7 ประการ ในที่นี้มุ่งเอาประเภทครู หรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ ได้แก่
                        1.   ปิโย น่ารักในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา
ไต่ถาม
                        2.   ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย
                        3.   ภาวนีโย น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้ และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยความซาบซึ้งภูมิใจ
                        4.   วตตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำ ว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
                        5.   วจนกขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา ซักถาม คำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อไม่ฉุนเฉียว
                        6.   คมภีรญจ กถ กตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน ให้เข้าใจและให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
                        7.   โน จฎฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐานะ คือไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ : 2528)
                จะเห็นได้ว่า กัลยาณมิตรธรรม 7 นี้ มุ่งเน้น ความปลอดโปร่งใจ ไม่บีบคั้น เน้นความมีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูล สร้างความเข้าใจ กระจ่างแจ้ง แนะแนวทางที่ถูกต้องด้วยการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
                สมุน  อมรวิวัฒน์ (2537) ได้เสนองานทางวิชาการเรื่อง กระบวนการกัลยาณมิตร : ฝึกจิตให้มีน้ำใจ ในที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ 5 เมษายน 2537” สรุปได้ว่า กระบวนการกัลยาณมิตร คือ กระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อจุดหมาย 2 ประการ คือ 1) ชี้ทางบรรเทาทุกข์ 2) ชี้สุขเกษมศานต์ โดยทุกคนต่างมีเมตตาธรรม พร้อมจะชี้แนะและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระบวนการกัลยาณมิตร ช่วยให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาได้โดยการจัดขั้นตอนตามหลักอริยสัจ 4  ดังนี้

 

มรรค
 






นิโรธ
 




สมุทัย
 


ทุกข์
 




แผนภูมิขั้นตอนการสอนตามกระบวนการกัลยาณมิตร

                หากพิจารณาแผนภูมิข้างต้น กระบวนการนิเทศโดยชี้ทางบรรเทาทุกข์ มีขั้นตอนคือ 1) การสร้างความไว้วางใจ 2) การกำหนดปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา 3) การศึกษา ค้นคว้า คิดวิเคราะห์ร่วมกันถึงเหตุปัจจัยแห่งปัญหา 4) การจัดลำดับความเข้มหรือระดับความซับซ้อนของปัญหา
                การชี้สุขเกษมศานต์ มีขั้นตอนต่อมาคือ 1) การกำหนดจุดหมายของการแก้ปัญหา หรือวัตถุประสงค์ของภารกิจ 2) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้หรือทางเลือก 3) การจัดลำดับวัตถุประสงค์และวิธีการ 4) การกำหนดวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมหลาย ๆ วิธี
                แผนภูมิขั้นตอนชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์นี้ นักการศึกษาส่วนใหญ่มุ่งนำ ไปใช้ในกิจกรรมการแนะแนว และการให้คำปรึกษา (Guidance and Counseling) แก่นักเรียนและนิสิต นักศึกษา อย่างไรก็ตามหากจะนำขั้นตอนดังกล่าวมาใช้ในการแก้ปัญหาทางการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการพัฒนาครูก็ย่อมจะประยุกต์ใช้ได้ดี
                ปัจจัยที่เกื้อหนุนกระบวนการกัลยาณมิตร
                การนำกระบวนการกัลยาณมิตรมาใช้ในการพัฒนาครู และการปฏิรูปการศึกษามีปัจจัยหลัก 4 ประการที่เกื้อหนุนให้ทุกขั้นตอนดำเนินไปด้วยดี ได้แก่ 1) องค์ความรู้ 2) แรงหนุนจากต้นสังกัด 3) ผู้บริหารทุกระดับ 4) บุคลากรทั้งโรงเรียน
                1.   องค์ความรู้ การชี้แนะและช่วยเหลือกันในกลุ่มหรือหมู่คณะ ย่อมต้องอาศัยอุดมการณ์ เป้าหมายร่วมกัน และมีหลักการความรู้ที่ได้พิสูจน์เห็นจริงแล้วเป็นพื้นฐาน ตัวอย่าง เช่น การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2540) ผู้เชี่ยวชาญถึง 5 คณะ
ได้พัฒนาหลักการและความรู้เกี่ยวกับการสอนที่นักเรียนมีความสุข การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสอนและการฝึกกระบวนการคิด การพัฒนาสุขภาวะ สุนทรียภาพทางศิลปะ ดนตรี กีฬา และหลักการฝึกหัดอบรมกาย วาจา ใจ คณะผู้เชี่ยวชาญได้นำเสนอหลักทฤษฎีและวิธีการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับผู้บริหารและครูที่ต้องการพัฒนาการสอน ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                การจัดการความรู้ให้เป็นฐานสู่การปฏิบัติ จึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นและก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (interactive learning throughaction, ประเวศ วะสี, 2545) ทั้งนี้ เพราะผู้นิเทศและบุคลากรในโรงเรียนจะพัฒนาตนได้ก็ต่อเมื่อ มีหลักการความรู้เป็นพื้นฐาน และสร้างแนวทางสู่จุดหมายร่วมกัน เกิดวัฒนธรรมความรู้ขั้นอีกระดับหนึ่ง นอกเหนือจากการใช้สามัญสำนึกและประสบการณ์เดิม
                กระบวนการกัลยาณมิตรที่มีฐานความรู้จะเกิดการวิจัย การพัฒนาและวิจัยต่อเนื่องกันไป สร้างวัฒนธรรมความรู้ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ดังที่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้อธิบายไว้ในหนังสือ เครือข่ายแห่งปัญญา ว่า วัฒนธรรมความรู้มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ







 





















วัฒนธรรมความรู้ (ประเวศ  วะสี : 2545)
                ครูพิศวาส น้อยมณี ครูแห่งชาติ ได้เขียนบันทึกไว้ว่า ...เมื่อครูมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุดแล้ว แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้ คือ จะต้องให้ความรู้แก่ครูอาจารย์อย่างทั่วถึง ข้าพเจ้าเชื่อว่าครูสามารถเปลี่ยนแนวการสอนได้ ถ้าครูได้รับข้อมูลเพียงพอ ทุกวันนี้จุดที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารทางวิชาการยังอยู่ห่างไกลตัวครูมาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กรมวิชาการ เขตการศึกษา ศึกษานิเทศก์ที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลความรู้แก่ครูโดยตรง ก็มีกำลังน้อยไม่ทั่วถึง ดังนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าหากมีกลุ่มหรือศูนย์สารสนเทศที่ให้ข้อมูลด้านการเรียนการสอน และคอยช่วยเหลือติดตามผลครู และโรงเรียนต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง จะทำให้ครูมีช่องทางและโอกาสในการพัฒนาตนเองได้
                นอกจากนี้แล้ว การนิเทศและการอบรมครูในลักษณะกัลยาณมิตร พร้อมมีตัวอย่างในทางปฏิบัติให้เห็น จะมีส่วนช่วยให้ครูปรับปรุงตนเองได้ โดยผู้บริหารโรงเรียนจะมีความสำคัญยิ่งในการกระตุ้น และส่งเสริมที่จะให้เกิดกิจกรรมเพื่อพัฒนาครู ทั้งในเรื่องการสอน และจริยธรรมวิชาชีพ... (พิศวาส น้อยมณี : 2544)
                ครูชูใจ  บุญเล่า ครูต้นแบบปี 2542 ได้พัฒนาครูเครือข่ายวิชาคณิตศาสตร์ โดยกลวิธีใช้นิทานคณิตศาสตร์ โครงงานคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
แต่ละวิธีการดังกล่าว ครูชูใจต้องอธิบาย สาธิตให้ตัวอย่างแก่ครูเครือข่าย เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในแต่ละวิธีการเหล่านั้น แม้เมื่อครูเครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจหลักการแล้ว ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถนำความรู้ไปเป็นแผนการสอนได้ด้วยตนเอง ครูชูใจได้ให้ตัวอย่างและติดตามว่าครูได้ใช้เทคนิควิธีที่เสนอแนะหรือไม่ ครูชูใจถือว่าครูต้นแบบเป็นผู้ให้โอกาสครูเครือข่ายได้ทำผลงานจากความสามารถของตนเอง จัดเวทีให้เสริมสร้างความมั่นใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มความรู้ให้แก่เพื่อนครู ซึ่งจากผลการประเมินพบว่าครูเครือข่าย สามารถสอนโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ได้ ทำแผนการสอนกิจกรรมโครงงาน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการ
4 ส่วน ได้แก่ ทำไม (why) อะไร (what) ทำอย่างไร (how does it work) และการประยุกต์ใช้ คือ ถ้า(if) รวมถึงการทำแผนความคิด (Mind Mapping) ได้ มีพัฒนาการทางความรู้ความสามารถเป็นที่พอใจ
                การนิเทศและพัฒนาครูจึงต้องเริ่มที่การสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ตรงกันในประเด็นหลักทฤษฎี เช่น การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือผู้เรียนสำคัญที่สุด ที่หลักการอย่างไร ทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ หลักบูรณาการ การพัฒนาพหุปัญญา กิจกรรมพัฒนานักเรียน หลักสูตรสถานศึกษา การประเมินผลตามการปฏิบัติจริง คืออะไร ถ้าต่างฝ่ายไม่มีหลักความรู้ ก็ย่อมตีความกันไปคนละทาง เกิดการโต้แย้งโดยไม่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีเอกภาพในหลักการ และมีความหลากหลายในวิธีการ
                2.   แรงหนุนจากต้นสังกัด ปัจจุบันนี้มีการตื่นตัวอย่างมากในทุกองค์กรที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ ทั้งนี้ เพราะในสังคมไทยมีการประเมิน การตรวจสอบ และการประกันคุณภาพของสถานศึกษา จากการปฏิบัติงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เขียนพบว่า หลายโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สถาบันราชภัฎ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กรมสามัญศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานการศึกษาส่วนท้องถิ่น (เทศบาล) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นต้น ได้ให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการวางแผน การปฏิบัติงาน ตลอดจนการประเมินผล
                หลังจากที่มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 องค์กรหลักทั้ง 6 องค์กร ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา มีความเชื่อมโยงกันในภารกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นหน่วยงานวิเคราะห์วิจัย นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษา ซึ่งเป็นการกระจายภารกิจความรับผิดชอบลงสู่พื้นที่และท้องถิ่น ดังได้อธิบายไว้ในมาตรา 37(1) (2) และ (3) ของพระราชบัญญัติฉบับนี้
                3.   ผู้บริหารทุกระดับ รายงานผลการดำเนินงานปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้หลายโครงการได้แสดงให้เห็นว่า ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถและเจตคติของผู้บริหารนับตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติในสถานศึกษา
                การพัฒนาบุคลากรทั้งโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารมีความสำคัญมาก ดังที่ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา (สกศ.) ได้ให้ความหมายของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบว่า
...หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นด้านการบริหารที่ส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เป็นผู้นำทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ ความสามารถ เป็นที่ยอมรับของคณะครู นักเรียน ผู้บังคับบัญชา กรรมการสถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม...
                จากรายงานการวิจัยเรื่อง การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่อง : รูปแบบที่คัดสรร สุมน อมรวิวัฒน์ (2545) ได้วิเคราะห์รูปแบบของการบริหารจัดการที่มีผลต่อการพัฒนาครูและกระบวนการเรียนรู้ไว้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น รูปแบบของผู้อำนวยการโรงเรียนพลับพลาศิริ จังหวัดนนทบุรี (นายศิริชัย, โยโกตา : 2544) ระบบอุดมคติโรงเรียนพลับพลาศิริ Model 1 รูปแบบการบริหารของโรงเรียนเทศบาลสวนสนุก จังหวัดขอนแก่น ที่เรียกว่า โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ รูปแบบการจัดตารางเรียนเชิงบูรณาการของโรงเรียนบ้านสบขุ่น จังหวัดน่าน และโครงการโรงเรียนขนมชั้นของผู้อำนวยการโรงเรียนท่านางแนววิทยายน จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
                4.   บุคลากรทั้งโรงเรียน โครงการสนับสนุนการฝึกอบรมครู โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2546) ได้ดำเนินการต่อจากโครงการนำร่องระยะที่ 1 (พ.ศ.2545) นั้น เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่าการพัฒนาครูที่โรงเรียน ทั้งโรงเรียน โดยโรงเรียนร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ช่วยให้มีการปฏิบัติจริง พัฒนาการสอนในสถานการณ์จริงที่โรงเรียน เกิดการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลภายในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังที่มีคำกล่าวหยอกเย้าว่า School-Based Training น่าจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่า Hotel-Based Training
                ตัวอย่างรายงานของครูดรรชนี ใจดี ครูต้นแบบวิชาชีววิทยา ปี 2541 ได้พัฒนาบุคลากรภายในโรงเรียน โดยการสร้างความสัมพันธ์และจัดกิจกรรม 26 วิธี ให้ครูเครือข่ายนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ครูดรรชนีดำเนินการนิเทศเยี่ยมห้องเรียน ดูแผนการสอน สื่อการสอน และผลงานของนักเรียน ในเวลาสอนจริงของครูเครือข่าย การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนสิรินธรประสบความสำเร็จและได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารและผู้ช่วยผู้อำนวยการทุกคน (ดรรชนี ใจดี : 2545)
                ครูต้นแบบได้บันทึกว่า ...ในฐานะหัวหน้างานฝ่ายวิชาการโรงเรียน จึงเสนอโครงการจัดกิกจรรมชุมนุมวิชาการ และให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน ผู้เรียนได้เรียนตามความต้องการ ยึดหลักการใช้ฐานโรงเรียนในการบริหาร ปรับตารางเวลาเรียนให้ตรงกันทั้งโรงเรียน สอบถามให้ครูเลือกเป็นที่ปรึกษาชุมนุมตามความถนัดก่อน เขียนแผนงานรองรับโครงการและดำเนินกิจกรรมตามแผน ใช้งบอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเพิ่มเติมให้ ครูทุกชมรมพอใจ
                จุดแข็งของการจัดกิจกรรมปฏิรูปทั้งโรงเรียนที่ค้นพบคือ ครูเก่งต้องลดดีกรีความเก่งลงมาเทียบเคียง แล้วเดินไปพร้อม ๆ กัน คนใดยังทำไม่ได้ ครูเก่งต้องเข้าไปช่วยเหลือให้เขาทำตามแบบก่อน แล้วถึงปล่อยให้ทำตามแบบของตนเอง
                จุดเน้นที่พยายามถึงที่สุดในทุกวันนี้ คือทุกครั้งที่โรงเรียนมีงานจัดกิจกรรม แสดงผลงาน จะให้จัดแบบภาพรวมทั้งโรงเรียนแบ่งให้ครูรับผิดชอบเป็นเรื่อง ๆ สร้างจิตสำนึกให้ทุกคนมีส่วนร่วม มีผลงานร่วมกันเป็นสำคัญ...
                จากรายงานที่ครูต้นแบบ เขียนบันทึก 3 หน้าส่งให้ผู้เขียน วิเคราะห์ได้ว่าการนิเทศภายในสถานศึกษาใช้หลายวิธีการ เช่น ผู้บริหารนิเทศคณะครู ครูแกนนำ หรือครูผู้นำ นิเทศครู
ในโรงเรียนโดยใช้ระบบคู่สัญญา กระบวนการกัลยาณมิตร ทำงานเป็นทีม มีกิจกรรมติดตามและประเมินเป็นระยะใช้ทรัพยากรร่วมกัน และดำเนินการพัฒนาคุณภาพของครูและนักเรียนไปพร้อมกันเป็นภารกิจปกติ
                การพัฒนาครูเครือข่ายภายในโรงเรียนนั้น สังเกตได้ว่ามีความยากในขั้นเริ่มต้นที่ต้องสร้างการยอมรับและศรัทธา แต่เมื่อเกิดความร่วมมือที่ดีแล้ว การนิเทศภายในโรงเรียนจะดำเนินไปอย่างคล่องตัว เนื่องจากจัดเวลา สถานที่ และสื่ออุปกรณ์ได้ง่ายทุกฝ่ายเข้าใจวัตถุประสงค์ เพราะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้หลายทาง สามารถร่วมกันปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะบุคลากรมุ่งพัฒนาคุณภาพไปในทิศทางเดียวกัน คือให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ เป็นคนฉลาดรู้ เก่ง ดี และมีความสุข

กัลยาณมิตรนิเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 
วงรี: คุณภาพสังคมไทย

คุณภาพผู้เรียน

คุณภาพการเรียน

คุณภาพของครู








ลูกศรขึ้น: กัลยาณมิตรนิเทศ พัฒนากระบวนการเรียนรู้
แผนภาพเวนน์

รูปแบบ  §  สร้างศรัทธา  สาธิตรูปแบบกระบวนการ  §  ร่วมงานร่วมทำ   §  ติดตามประเมินผล
องค์ความรู้
แรงหนุนจากต้นสังกัด
ผู้บริหารทุกระดับ
บุคลากรทั้งโรงเรียน
                7.4    การจัดการความรู้ (KM)    กับการนิเทศการศึกษา
                        7.4.1 ความหมายของการจัดการความรู้
                        การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นเรื่องสำคัญที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้นำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ในบทบาทของผู้นิเทศการศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อจะได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                        การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
                        1.   ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
                        2.   ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
                        7.4.2    จุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้
                                   นพ.วิจารณ์  พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติการจัดการความรู้ คือ เครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่
                                   1.   บรรลุเป้าหมายของงาน
                                   2.   บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
                                   3.   บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์การไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
                                   4.   บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่                                          ทำงาน
                การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
                (1)    การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
                (2)    การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
                (3)    การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะสมต่อการใช้งานของตน
                (4)    การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการของตน
                (5)    การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัด ขุมความรู้ ออกมาบันทึกไว้
                (6)    การจดบันทึก ขุมความรู้ และ แก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
                โดยที่การดำเนินการ 6  ประการนี้ บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกัน ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า จัดการความรู้ จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
                (1)    การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงานและสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
                (2)    การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
                (3)    ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
                (4)    ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสูงสุดของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลอง เอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

                        7.4.3    กระบวนการจัดการความรู้
                                   เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
                                              1)    การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง
อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
                                   2)  การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
                                   3)  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียม พร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
                                   4)  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
                                   5)  การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board  บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
                                   6)  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธี โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
                                   7)  การเรียนรู้ (Learning) ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
                        7.4.4    ชุมชมนักปฏิบัติ COP (Community of Practice) COP เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้น ส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะนี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สำคัญ
                        COP จะมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเป็นทีมปฏิบัติงานปกติทั่วไป ตรงที่ COP เป็นการรวมกันอย่างสมัครใจ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยกิจกรรมทางสังคม ไม่ได้มีการมอบหมายสั่งการเป็นการเฉพาะ และจะเลือกทำในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจร่วมกันเท่านั้น
                        ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม COP จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงานของบุคคลและองค์กรต่อไป และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในท่ามกลางบรรยากาศแบบสบาย ๆ ประกอบกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่าสุนทรีสนทนา (Dialoque) ซึ่งเป็นการสนทนาที่เคารพความคิดเห็นของผู้พูด ให้เกียรติกัน ให้โอกาสกัน และไม่พยายามขัดขวางความคิดใคร กับรับฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ (Deep Listening)         
                        7.4.5    การใช้การจัดการความรู้ (KM) ในงานนิเทศการศึกษา
                                   จากเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร ผู้นิเทศสามารถนำแนวคิดและวิธีการของการจัดการความรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนางานนิเทศการศึกษา ซึ่งการจัดการความรู้มีเครื่องมือหลายชนิด เช่น
                                   1)  การนิเทศโดยสนับสนุนให้มีการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (COP) โดยการจัดให้ครูที่มีความสนใจ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมารวมกลุ่มกัน ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ที่เป็นลักษณะของ Tacit Knowledge จะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน และสนับสนุนให้มีการเรียนรู้จากกลุ่มอื่น
                                   2)  จัดกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง โดยจัดให้ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จ ได้เล่าถึงกระบวนการปฏิบัติที่เป็นเลิศให้บุคลากรในองค์กรได้ฟัง และร่วมกันสกัดเทคนิค วิธีกาที่ปฏิบัตินั้นออกมา ซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้นั้นได้ใช้แล้วประสบผลสำเร็จ เพื่อคนอื่นจะได้มาเรียนรู้ด้วย
                 
8.   การนิเทศภายในโรงเรียน
                8.1    แนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน
                        ปัจจุบันการนิเทศการศึกษาโดยศึกษานิเทศก์ ไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากการขยายตัวในด้านจำนวนโรงเรียนและขนาดของโรงเรียน ตลอดจนครู-อาจารย์มีจำนวนมากขึ้น การนิเทศการศึกษาจากภายนอกโดยศึกษานิเทศก์ย่อมไม่เพียงพอ กอรปกับปัจจุบัน ครู-อาจารย์
มีคุณวุฒิสูงขึ้น โรงเรียนมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ระบบการนิเทศการศึกษาต้องปรับปรุง พัฒนาให้ทันกับสภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป การนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน จึงเป็นแนวทางหนึ่งในความพยายามที่จะปรับปรุง ส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด




                8.2    ความหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน
                        การนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง กิจกรรม กระบวนการที่ผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียนร่วมมือกันจัดขึ้น เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของครูในทุกด้าน รวมทั้งให้ครูเกิดความ ก้าวหน้าในวิชาชีพ และสัมฤทธิ์ผลสูงสุดในการเรียนของนักเรียน
                8.3    กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน
                        การนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน จะสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ จำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เป็นระบบ ซึ่งอาจเรียกว่า กระบวนการปฏิบัติงานหรือกระบวนการนิเทศ ซึ่งกระบวนการนิเทศภายในที่นิยมนำมาใช้ คือ กระบวนการนิเทศของ Ben M. Harris ซึ่งเรียกว่า P O L C A ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
                        1)  การวางแผนการนิเทศ (Planning) หมายถึง การวางแผนในการปฏิบัติงาน โดยคิดว่าจะทำอย่างไร การกำหนดวัตถุประสงค์ การพัฒนาวิธีดำเนินงาน การกำหนดงานและผลที่เกิดขึ้นจากการจัดทำโครงการ
                        2)  การจัดองค์กรการนิเทศ (Organizing) หมายถึงการจัดโครงสร้างขององค์กร เพื่อการดำเนินการนิเทศ การกำหนดเกณฑ์การทำงาน การจัดหาทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการนิเทศ การกำหนดภารกิจ บทบาทหน้าที่ ตลอดจนการประสานงาน
                        3)  การนำการนิเทศสู่การปฏิบัติ (Heading) หมายถึง การดำเนินการวินิจฉัย สั่งการ การคัดเลือกบุคลากร การกระตุ้นให้เกิดการทำงาน การให้คำปรึกษาช่วยเหลือ การให้ขวัญกำลังใจ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
                        4)  การควบคุมการนิเทศ (Controlling) หมายถึง การติดตามควบคุมงานนิเทศ
โดยการมอบหมายงาน การติดตามช่วยเหลือแก้ไขปรับปรุงให้งานนิเทศบรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดจนการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงาน
                        5)  การประเมินผลการนิเทศ (Assessing) หมายถึง การตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติงานการนิเทศ โดยการวัดและประเมินผลงานนิเทศ
                จากกระบวนการนิเทศทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สงัด  อุทรานันท์ ได้เสนอกระบวนการนิเทศที่เหมาะสมกับสภาพของสังคมได้ 5 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า PIDRE  ดังนี้
                1)  การวางแผนการนิเทศ (Planning)
                2)  การสร้างความเข้าใจและการให้ความรู้ (Information)
                3)  การปฏิบัติการนิเทศ (Doing)
                4)  การสร้างขวัญกำลังใจ (Reinforcing)
                5)  การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating)
                ซึ่งกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ สามารถเขียนเป็นภูมิ ดังนี้

 





























ใบความรู้เสริม (นอกเวลา)  
ทักษะที่จำเป็นของผู้นิเทศในทัศนะของศึกษานิเทศก์
จุดประสงค์
                  เพื่อให้ผู้รับการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการนิเทศ
เนื้อหา
                  1. ศึกษานิเทศก์คือใคร ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เห็นว่าศึกษานิเทศก์ คือ เพื่อนที่แสนดีหรือกัลยาณมิตรนิเทศ สำหรับบางส่วนมีความเห็นว่าศึกษานิเทศก์เป็นหมอของครู และครูของครู
                  2. ทักษะเชิงมนุษย์ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ควรมีทักษะเชิงมนุษย์ ดังนี้
                        2.1 เจตคติที่ดี รักและศรัทธาในวิชาชีพศึกษานิเทศก์
                        2.2 คุณธรรม จริยธรรมและมี EQ สูง มองโลกในแง่ดี รู้จักตนเอง มีความพอดี
มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ มีความกล้าทางจริยธรรมที่จะยืนอยู่บนหลักวิชา ตั้งหมั่นอยู่บนหลักการ กล้าเสนอแนะเพื่อปรับปรุงพัฒนาเมื่อเห็นว่าขัดกับหลักการ มีรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงเวลา ซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดี มีนิสัยช่วยเหลือผู้อื่น อดทน ใจกว้าง มีสติสัมปชัญญะ ไม่หวังผลตอบแทน เป็นผู้เสียสละเพื่อสังคมและประเทศชาติ
                        2.3 มุ่งมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นคนทันสมัย ขยันหมั่นเพียร รักการเรียนรู้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สู้งานหนัก มีนิสัยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความรู้สึกนึกคิดเป็นสากล และ Smart และ
มีสปิริต (Spirit)
                        2.4 เป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยใช้พลังทางวิชาการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอนและระบบการสนับสนุนต่าง ๆ เป็นต้นหรือสามารถเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการปฏิบัติงาน
                        2.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความจริงใจ ประสานสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างสร้างสรรค์ และเป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ปิยวาจา
                        2.6 บุคลิกภาพดี การพูด การฟัง การเดินการเคลื่อนไหว การแสดงออกทางสีหน้าท่าทางสง่างาม มีความอดทด อดกลั้น อารมณ์ดี การแต่งกายเหมาะสม สะอาด สุภาพเรียบร้อย สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี รูปร่างหน้าตาสดชื่น
                  3. ทักษะทางวิชาการ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการ โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้
                        3.1 มีวิสัยทัศน์
                        3.2 มีทักษะการวิจัย เป็นผู้นำทางวิชาการ จึงต้องมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ค้นคว้าองค์ความรู้ สร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมทางการศึกษา ที่
เชื่อถือและมีประสิทธิภาพ   ควรทำวิจัยร่วมกับผู้บริหารและครู เป็นการแก้ปัญหาและเรียนรู้ร่วมกัน วิธีการนี้จะเป็นการพัฒนาผู้บริหารและครูครบวงจร ศึกษานิเทศก์ก็จะเป็นผู้นำทางวิชาการร่วมกับผู้บริหารและครูสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมทางการศึกษา จึงช่วยให้ศึกษานิเทศก์เป็นผู้รู้จริง ทำเป็นและสามารถนิเทศให้ผู้รับการนิเทศนำไปสู่การปฏิบัติได้ รวมทั้งผลการทำวิจัยร่วมกันก็จะเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เกิดการยอมรับและขวัญกำลังใจ
                        3.3 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้
ทันสมัย ทันโลกและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ใช้เทคโนโลยีในเพื่อการนิเทศได้อย่างความฉับไวและ
ทันการณ์
                        3.4 มีทักษะในการบริหารจัดการ ศึกษานิเทศก์สามารถบริหารจัดการ นำแนวคิด
ทฤษฎี และกฎหมาย ระเบียบ นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
                        3.5 ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศึกษานิเทศก์ต้องพัฒนาตัวเองให้มีความชำนาญเฉพาะทาง ให้ได้ เช่น การประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินผลการศึกษา การบริหารจัดการการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อ คู่มือครู แผนการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นผู้รู้จริง ทำเป็นและสามารถนิเทศให้ผู้รับการนิเทศนำไปสู่การปฏิบัติได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสามารถแก้ปัญหาให้โรงเรียนได้
                        3.6 ความสามารถในการบูรณาการ นอกจากจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแล้ว ควรมีความรู้ความสามารถในการบูรณาการสาระการนิเทศทุกเรื่องลงในภารกิจโดย
ไม่แยกส่วน
                        3.7 มีทักษะในการตรวจ ติดตามและประเมินผล
                        3.8 มีทักษะด้านภาษาต่างประเทศอย่างน้อยทักษะด้านภาษาอังกฤษ

                  4. ทักษะการนิเทศ ศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ควรมีความรู้ความสามารถในด้านการนิเทศ ดังนี้
                        4.1 มีความรู้ความสามารถในการนำแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมาย ระเบียบ นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือรู้และทำได้ด้วย
                        4.2 ทักษะในการสื่อสาร การนิเทศเป็นการใช้ทั้งศิลป์และศาสตร์ ศึกษานิเทศก์ควรมีทักษะในการสื่อสารหลายรูปแบบ เพื่อใช้ได้ในทุกโอกาสและทุกช่องทางอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เช่น มีทักษะในการพูด การเขียน การผลิตสื่อและใช้สื่อที่สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่นิเทศ
                        4.3 มีทักษะในการนิเทศ สามารถเลือกรูปแบบการนิเทศได้อย่างเหมาะสม ดำเนินการอย่างเป็นระบบครบวงจรและมีคุณภาพสูง โดยมีเป้าหมายชัดเจนตรงกับความต้องการ
และปัญหาของโรงเรียน ผู้บริหาร ครูและนักเรียน มีทักษะในการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความรู้ความสามารถใช้เทคนิคการนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนักพัฒนา ให้ผู้รับการนิเทศเกิดการพัฒนาได้สำเร็จและตรงกับความต้องการ สำหรับเทคนิคการนิเทศที่น่าสนใจ เช่น เทคนิคการนิเทศแบบ ICT เทคนิคการมีส่วนร่วมเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระตุ้นให้ครูมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ สร้างองค์ความรู้และพัฒนาการสอน เป็นต้น  โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการนิเทศ เกิดประโยชน์และคุณภาพให้กับโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวชี้วัดความสำเร็จการนิเทศให้ดูความพึงพอใจของโรงเรียนและโดยเฉพาะคุณภาพของนักเรียน
                        4.4 มีจิตวิทยาการนิเทศ รู้จักคนและเข้าใจคน           
                  5. การจัดองค์กรและการบริหารจัดการศึกษานิเทศก์มืออาชีพ
                        5.1 องค์ประกอบของศึกษานิเทศก์มืออาชีพที่สำคัญ ควรมีดังนี้                      
                                    5.1.1 มาตรฐานวิชาชีพ
                                    5.1.2 จรรยาบรรณ
                                    5.13 ใบประกอบวิชาชีพ
                                    5.14 การประกันคุณภาพการนิเทศการศึกษา
                        5.2 องค์กรการบริหารจัดการศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ควรจัดระบบที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ศึกษานิเทศก์ เป็นระบบที่ไว้วางใจ สร้างบรรยากาศของการคิดสร้างสรรค์
                        5.3 การประกันคุณภาพการนิเทศการศึกษา ควรมีระบบการควบคุมคุณภาพ มีมาตรฐานวิชาชีพ มีการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ มีการจัดทำรายงานผลการนิเทศของศึกษานิเทศก์ แสดงถึงความคุ้มค่า คุ้มประโยชน์และความรับผิดชอบ
                        5.4 การคัดเลือกศึกษานิเทศก์ ควรคัดเลือกจากผู้บริหาร ครูที่มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับมาเป็นศึกษานิเทศก์
                        5.5 องค์กรหรือสถาบันพัฒนาศึกษานิเทศก์ ควรมีองค์กรหรือสถาบันพัฒนาศึกษานิเทศก์ ส่งเสริมสนับสนุนและรับผิดชอบในการพัฒนาศึกษานิเทศก์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลง
                        5.6 สมาคมศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศก์ควรเป็นสมาชิกและเข้าร่วมกิจกรรม
สรุป ศึกษานิเทศก์ คือ เพื่อนหรือกัลยาณมิตรนิเทศของผู้รับการนิเทศ ซึ่งเป็นวิชาชีพ
ชั้นสูง มีมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณ ใบประกอบวิชาชีพและการประกันคุณภาพการนิเทศการศึกษา ควรจัดองค์กรและการบริหารจัดการที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับบุคคลที่เข้าสู่วิชาชีพ ควรมีทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะเชิงมนุษย์ เช่น เจตคติที่ดี รักและศรัทธาในวิชาชีพ                                                                                                                                                        คุณธรรม จริยธรรมและมี EQ สูง มุ่งมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีมนุษยสัมพันธ์ บุคลิกภาพดี ทักษะทางวิชาการ เช่น มีวิสัยทัศน์ มีทักษะการวิจัย สร้างสรรค์ค้นคว้าองค์ความรู้ สร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีทักษะการสื่อภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและความสามารถในการบูรณาการสาระการนิเทศทุกเรื่องลงในภารกิจโดยไม่แยกส่วน และมีทักษะการนิเทศ เช่น มีทักษะในการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ทักษะในการสื่อสาร และสามารถเลือกรูปแบบและเทคนิคการนิเทศได้อย่างเหมาะสม ดำเนินการอย่างเป็นระบบครบวงจรและมีคุณภาพสูง โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการนิเทศ รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการ
















ใบความรู้ทักษะผู้นิเทศ
                                                                                  อ.ยุทธ  โตอดิเทพย์                             
จุดประสงค์ ผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักในความสำคัญของการฝึกทักษะการนิเทศ ได้แก่ ทักษะวิชาการ ทักษะเชิงมนุษย์ และทักษะเชิงบริหาร
๑. การสื่อสาร
ความหมาย
            การสื่อสาร (Communication) แปลว่า การติดต่อ บอก แจ้ง คมนาคม สาร จดหมายโทรเลข
(สอ  เสถบุตร.   
2518 : 144)
            การสื่อสาร (Communication) หมายถึง การติดต่อกันระหว่างมนุษย์  เพื่อทำให้ผู้รับรู้เรื่องราวอันมีความหมายร่วมกันและเกิดการตอบสนอง  (สวนิต ยมาภัย.  2538 : 7)
            การสื่อสาร (Communication)  คือกระบวนการถ่ายทอด สารสนเทศ และความคิดตลอดจนเจตคติ  เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่ง กับ ผู้รับ
            สรุปการสื่อสารเป็นการติดต่อกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเสนอเรื่องราวต่างๆ อันได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร  ความรู้สึกนึกคิด  ความต้องการ  ตลอดจนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ  ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลรับรู้
            การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและในแง่สังคม  ในแง่บุคคลทำให้คนเราสามารถรับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน  การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์กว้างขวางขึ้น เพราะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ ประโยชน์ของการสื่อสารในแง่สังคมก็คือการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง  ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดและพัฒนาวัฒนธรรมของตนเอง  สามารถเรียนรู้และรับรู้วัฒนธรรมของสังคมอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงวัฒนธรรมของตน ตลอดจนสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมของตนไปสู่คนรุ่นใหม่อย่างไม่จบสิ้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
            กระบวนการสื่อสาร  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่
๑.  ฝ่ายที่ส่งเรื่องไป           เรียกว่า  ผู้ส่งสาร (Sender)
๒. เรื่องที่ส่งไป               เรียกว่า สาร (Message)
๓. ตัวกลางที่นำเรื่องไป   เรียกว่า  สื่อ (media)  หรือ ช่องทาง (Channel)
.ฝ่ายที่รับเรื่อง              เรียกว่า ผู้รับสาร (Response)
๕. การรับรู้                     เรียกว่า  ปฏิกิริยาตอบสนอง  (Receiver)

อุปสรรคของการสื่อสาร
            อุปสรรคของผู้ส่งสาร  เช่น ขาดความรู้ในเรื่องที่นำเสนอ ความบกพร่องของผู้ส่งสารอันเกิดจากสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปรกติ  ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารไม่ประสบผลสำเร็จ
            อุปสรรคที่สาร เช่น สารเป็นเรื่องยากเกินไป ใช้รูปแบบที่ซับซ้อน สารนั้นขัดแย้งกับความ
เชื่อและค่านิยมของผู้รับสาร  ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อสารเท่าที่ควร
            อุปสรรคที่สื่อ เช่น สื่อถูกรบกวนหรือสื่อชำรุดบกพร่อง  สื่อเทคโนโลยีส่วนมากจะเกิดปัญหาความชำรุดของสื่อ เช่น โทรศัพท์ขัดข้อง วิทยุโทรทัศน์ชำรุด ทำให้สื่อสามารถทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            อุปสรรคที่ผู้รับสาร เช่น ผู้รับสารมีอคติต่อผู้ส่งสาร หรือมีอคติต่อสาร ผู้รับสารมีความคิดเห็นแตกต่างกับสาร  ผู้รับสารขาดความพร้อมเจ็บป่วย ร่างกายจิตใจผิดปรกติ
            อุปสรรคของการสื่อสารเกิดขึ้นที่องค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนรวมกัน หากจะทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลจะต้องแก้ไขที่องค์ประกอบอันเป็นปัญหา
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
            ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี ๒ ประเภท ได้แก่
๑.   ภาษาถ้อยคำ หรือวัจนภาษา ได้แก่ภาษาพูด  ภาษาเขียน
            ๒.  ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ หรืออวัจนภาษา ได้แก่  แสง สี เสียง สัญลักษณ์  การเคลื่อนไหว
ร่างกาย  การสัมผัส การมอง ฯลฯ    การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นจะต้องใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาประกอบกัน  ในขณะที่พูดแม้จะใช้ภาษาถ้อยคำแต่ต้องใช้ท่าทาง  สายตา  น้ำเสียงประกอบด้วย การใช้ภาษาในการส่งสารมีข้อควรคำนึงอยู่ ๓ ประการ  ประการแรกจะต้องวิเคราะห์ตนเอง  ในฐานะผู้ส่งสารว่า มีจุด มุ่งหมายในการส่งสารอย่างไร  ประการที่สองจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารว่าเป็นใคร โดยวิเคราะห์ อายุ ฐาน เพศ วัย พื้นฐานความรู้  ประการที่สาม โอกาสในการส่งสาร เช่น เป็นพิธีการ กึ่งพิธีการ หรือกันเอง แล้วเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารให้เหมาะสม
๒. มนุษยสัมพันธ์
                        มนุษยสัมพันธ์  คือการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการเข้ากับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล  เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ  และข้อสำคัญคือเกิดความพอใจทั้งสองฝ่ายด้วย
                        มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องการสร้างความเข้าใจอันดี  เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี  เกิดความพอใจ เกิดความรักใคร่  การที่คนเราจะอยู่ด้วยกันได้ต้องอาศัยความรักความเข้าใจอันดีต่อกัน  เมื่อเขารักและเข้าใจเราดีแล้ว  ก็จะเกิดความรู้สึกอยากช่วยเหลือ  ให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยความจริงใจและเต็มใจ  ถ้าทั้งสองฝ่ายมีมนุษยสัมพันธ์กันด้วยดีผลงานในทีทำงานย่อมดีตามไปด้วย
                        การทำงานกับบุคคลทั่วไป  ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้านพื้นฐานและประสบการณ์  ฐานะเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนลักษณะนิสัย  จึงจำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ช่วยส่งเสริมการทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้เกิดการยอมรับ  นับถือ  ศรัทธา  และยอมกระทำตามคำแนะนำ  ร่วมคิดร่วมทำด้วยความสมัครใจ  
            ทักษะมนุษยสัมพันธ์  ที่ทำให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  ได้แก่
            ๑. ความเข้าใจตนเอง
                 - สำรวจตนเองว่ามีความบกพร่องด้านใดและพยายามปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน
                 -ให้ผู้อื่นช่วยพิจารณาตัวเรา เช่น การแต่งกาย การพูด การแสดงท่าทาง
            ๒. ความเข้าใจผู้อื่น
                 -ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
                 -ยอมรับพฤติกรรมของบุคคลทั้งส่วนดีและข้อบกพร่อง
            ๓.ปรับปรุงตนเองตามหลักการสร้างมนุษสัมพันธ์
                 หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์
            ๑.หลัก ๓ ยอ ได้แก่  ยิ้มแย้ม  ยั่วยุ  ยกย่อง
            ๒.หลักสังคหวัตถุ ๔  ได้แก่ ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  สมานัตตตา
๓.หลักของขงจื๊อ  ได้แก่  ปิดหู  ปิดตา  ปิดปาก
๔.หลักทฤษฎีของ Heider  ได้แก่ การผูกมิตรสัมพันธ์กับผู้อื่น ต้องศึกษาว่าเขาชอบหรือสนใจอะไร 
ไม่พูดซ้ำซาก  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำตนเป็นมิตรที่ดี
๕.หลักในการปรับตนเองเพื่อให้เกิดศรัทธา ได้แก่ มีความอดทนและรักษา
อารมณ์ได้ ส่งเสริมยกย่องอย่างจริงใจ ให้คำชมเชยเมื่อทำงานเสร็จ วิจารณ์ผลงานอย่างยุติธรรม  เป็นนักฟังที่ดี พูดไพเราะ แจ่มแจ้ง  เอาใจเขามาใส่ใจเรา
            ๖. หลักการเอาชนะใจคนให้เห็นด้วยกับความคิดของเรา ได้แก่  การไม่โต้เถียง  เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อผิดต้องรับผิดทันที  เริ่มต้นด้วยความเป็นมิตร  พูดจาไพเราะนุ่มนวล  พยายามให้มีความรู้สึกว่าเป็นความคิดนั้นเป็นของผู้สนทนาทำให้เขายอมรับว่า ใช่ เอาใจเขามาใส่ใจเรา  เห็นใจในความผิดหรือความบกพร่องของผู้อื่นชี้ปมเด่นอย่ากล่าวถึงปมด้อย  แสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนาน

คุณลักษณะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
๑. รู้จักการคบคนทุกเพศทุกวัย
๒. มีความรู้ดี
๓. มีความมั่นใจในตนเอง
๔. มีบุคลิกภาพที่ดี
๕. เป็นนักฟังที่ดี
            ๖. มีนิสัยรักการอ่าน
๗. มีศิลปะการถ่ายทอด
๘. รับฟังคำวิจารณ์
๙. มีอารมณ์ขัน
การเสริมสร้างเสน่ห์ให้ตนเอง
๑.ยิ้มแย้มนำ
๒.    จำชื่อได้
๓.     ให้การยอมรับ
๔.     จับจิตใจเขา
๕.     เราหมั่นยกย่อง
๖.      สอดส่องเอาใจใส่
๗.     มีน้ำใจเกื้อกูล
๘.     เพิ่มพูนการฟัง
๙.      เอ่ยอ้างที่เขาชอบ
๑๐.  พร้อมมอบความสุข
 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
๑.  คิดมาก
๒. ปากโป้ง
๓.  หลงตนเอง
๔.  เก่งนินทา
        ๕. หน้างอเง้า
๖. เจ้าอารมณ์
๗. มีปมด้อย
๘. ใจน้อยเหลือ
 พฤติกรรมที่พึงกระทำ
 ๑. ยิ้มแย้มแจ่มใส
๒. ทักทายคนอื่นก่อน
๓. ยกย่องสรรเสริญ
๔. เสมอต้นเสมอปลาย
๕. รู้จักให้เป็นนิสัย
๖. มีความจริงใจ
๗. ไม่เป็นไรเสียบ้าง
๓. ทักษะการพัฒนาบุคลิกภาพ
            บุคลิกภาพ  (Personality) หมายถึง ลักษณะและพฤติกรรมเฉพาะของบุคคลซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน แบ่งออกเป็น  ๒  ส่วน คือ บุคลิกภายนอกและบุคลิกภายใน
            บุคลิกภายนอก ได้แก่ ลักษณะที่มองเห็นเป็นรูปธรรม  สัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู  จมูก  ลิ้น  กาย  จำแนกตามลักษณะที่แตกต่างกัน คือ ลักษณะรูปร่าง  ลักษณะใบหน้า    สุขอนามัย   กิริยามารยาท  การแต่งกาย   ลักษณะการพูด  ลักษณะท่าทาง  การใช้ภาษา  การใช้สายตา
            บุคลิกภายใน  ได้แก่  สติปัญญา  อุปนิสัย  คุณธรรม  ทัศนคติ  ความรับผิดชอบ
ความคิดสร้างสรรค์  ความเชื่อมั่นตนเอง  อารมณ์  ปฏิภาณไหวพริบ 
            ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพดี   ทั้งบุคลิกภายนอก  บุคลิกภายใน  สามารถสรุปได้ว่าผู้มีบุคลิกภาพดี  จะต้องรูจักสร้างบุคลิกภาพของตน ดังนี้
๑.      รูปร่างดี
๒.    สุขภาพดี
๓.     แต่งกายดี
๔.     มารยาทดี
๕.     ความรู้ดี
๖.      จิตใจดี
๗.     ความคิดดี
๘.     พูดดี
๙.      อารมณ์ดี

การสร้างความมั่นใจ  ความมั่นใจตนเองเป็นบุคลิกภาพภายในของบุคคล  เช่น
กล้าพูด  กล้าแสดง  กิริยาท่าทางงามสง่า  สร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็น ในทางตรงข้ามถ้าขาดความมั่นใจตนเอง  อาจเกิดความประหม่า  ตื่นเต้น  แสดงกิริยาท่าทางที่ไม่พึงประสงค์ออกมาโดยไม่รู้ตัว  เป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพได้  จึงต้องสร้างความมั่นใจตามแนวปฏิบัติ ดังนี้
๑.      การเลือกเรื่อง  จงพูดเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด  การพูดเรื่องที่เรามีความรู้ ความถนัด
คือการสร้างความมั่นใจในการพูด  ดังนั้นการเลือกเรื่องที่จะพูดควรพิจารณาจากเรื่องที่กระแสสังคมกำลังสนใจ  เป็นเรื่องที่ผู้พูดสนใจและต้องการพูด  เป็นเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ
๒.    การวิเคราะห์ผู้ฟัง  ถ้าผู้พูดรู้จักฟังมากเท่าใด  ย่อมส่งผลให้การพูดมีประสิทธิ
ภาพมากขึ้นเท่านั้น  เพราะผู้ฟังเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการสื่อสารด้วยคำพูด  ผู้พูดจะต้องศึกษาและวิเคราะห์ผู้ฟังในด้านต่างๆ  เพื่อวางแผนและเตรียมการพูด
๓.   การเตรียมเรื่อง  ต้องรวบรวมเนื้อที่จะพูดให้เหมาะสมกับเวลาและจุดมุ่งหมายและผู้ฟัง  กำหนดโครงสร้างการพูด ตามขั้นตอนดังนี้
-    ชื่อเรื่อง ต้องน่าสนใจ
-    การทักทายผู้ฟัง
-    การขึ้นต้น (คำนำ)
-    เนื้อเรื่อง (รายละเอียด)
-    การลงท้าย (คำสรุป)
๔. การเตรียมตัว ได้แก่การเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมที่จะพูด  ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง  มีความพร้อมที่จะพูดตามกำหนดนัดหมาย  แต่งกายให้เหมาะสมกาลเทศะ  จิตใจเป็นสมาธิไม่วิตกกังวล  
๕. การฝึกซ้อม  ควรฝึกซ้อมทบทวนเนื้อหาที่จะพูด ลำดับขั้นตอนก่อนหลัง ตัวอย่างอ้างอิง สำนวนโวหาร  การใช้น้ำเสียง การใช้ท่าทาง ตลอดจนการใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ           
๖. มีความมั่นใจ  ว่าจะพูดได้ตามที่เตรียมตัวเตรียมใจ และฝึกซ้อมมา กล้าพูดกล้าแสดง
๗. การควบคุมตนเอง  มีสติสัมปชัญญะ  คือมีความรู้ตัวอยู่เสมอ  ไม่เผลอตัว เกิดความประหม่า  ตื่นเต้น  พูดผิดพูดถูก ถ้าสามารถควบคุมตนเองได้
๘. การไม่ยอมแพ้  มีความมุ่งมั่นตั้งใจแน่วแน่  จะต้องเป็นผู้ชนะทำได้สำเร็จสร้างขวัญและกำลังใจให้เข้มแข็ง มีความปรารถนาที่จะพูดให้ดีที่สุด
๙. การใช้โสตทัศนูปกรณ์  จะช่วยโน้มน้าวจูงใจให้ผู้ฟังสนใจตั้งใจฟังและติดตามเรื่องที่พูดตลอดเวลา ลดความกดดัน ความเครียด ความประหม่าลงได้

๔. คุณลักษณะของผู้นิเทศการศึกษา
            ๑. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
            ๒. มีความมั่นใจในตนเอง
              ๓. มนุษยสัมพันธ์ดี เปิดเผย ไม่เย่อหยิ่ง
              ๔. มีสุขภาพดีทั้งทางกายและใจ
            ๕.มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้
            ๖. มีเทคนิคในการพูดและสื่อความหมายได้ดี
              ๗. มีความสามารถในการสาธิตการสอน
๕. ทักษะที่จำเป็นในการนิเทศการศึกษา
๑.  ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
            ๒.  ทักษะการสื่อสาร
            ๓.  ทักษะการเป็นผู้นำ
            ๔. ทักษะกระบวนการกลุ่ม
            ๕. ทักษะการประเมินผลการปฏิบัติ
   ๖. ภาวะผู้นำ
ผู้นำ
-บุคคลที่มีความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำ
-ผู้มีอิทธิพลหรือบุคคลอื่นๆในกลุ่ม สามารถทำให้ บุคคลเหล่านั้นกระทำสิ่งต่างๆจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้
ภาวะผู้นำ
            กระบวนการที่มีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนอื่นๆทำให้สมาชิกเหล่านั้นมีการกระทำในแนวทางใดแนวทางหนึ่งจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
พลังอำนาจ
๑. อำนาจจากการให้รางวัล
 ๒. อำนาจเกิดจากการบังคับ
๓. อำนาจเกิดจากการทำให้ถูกต้องชอบธรรม
๔. อำนาจเกิดจากการเป็นพรรคพวก
๕. อำนาจจากความเชี่ยวชาญ


คุณลักษณะของผู้นำที่ดี
๑. มีภาวะผู้นำที่เหมาะสม
๒. พัฒนาบุคลากรอยู่ตลอดเวลา
 ๓. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๔. ให้สวัสดิการ ขวัญ กำลังใจแก่สมาชิก
คุณสมบัติของผู้นำวิชาการที่ดี
๑. รู้ทันรู้นำโลก
๒  เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ
๓. รวมพลังสร้างสรรค์สังคม
๔. รักษ์วัฒนธรรมไทยใฝ่สันติ
๕. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
๖. มีนิสัยรักการอ่าน
๗. มีศิลปะการถ่ายทอด
๘.รับฟังคำวิจารณ์
๙. มีอารมณ์ขัน















ใบกิจกรรม
เทคนิคการนิเทศแบบ  Coaching
เพื่อนคู่คิด  มิตรคู่โรงเรียน: การโค้ช เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงตนเอง
หลักการและเหตุผล
            ศึกษานิเทศก์จะต้องเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติภารกิจของตนเอง (แบบกระจายอำนาจมากขึ้น) ในสถานศึกษาไปพร้อมๆ กับ เรียนรู้เพื่อการสอน และ เรียนรู้จากการสอน  (learn to teach and learn from teaching)  ในห้วงเวลาสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว     ครูและศึกษานิเทศก์จะต้องการการสนับสนุนจาก The Trainers หรือเพื่อนร่วมงาน หรือตนเองในลักษณะของการโค้ช (coaching)  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (reflective coaching) ในเหตุ-ผล  คุณค่า  และประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานของตนเอง  เพื่อสร้างความมั่นใจในความจริงของการเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์  ดังนั้นหน่วยการเรียนรู้ เพื่อนคู่คิด  มิตรคู่โรงเรียน  จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดโอกาสและส่งเสริมให้ศึกษานิเทศก์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  และสร้างความพร้อมมากยิ่งขึ้นให้กับตนเองเกี่ยวกับการโค้ช  เพื่อส่งเสริมการนำการเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อรองรับการนิเทศแนวใหม่  อันจะเป็นพื้นฐานไปสู่การออกแบบการจัดฝึกอบรม  การเป็นโค้ชผู้สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้และการเป็นกัลยาณมิตร
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สะท้อนคิดและสรุปความรู้เดิมใจเกี่ยวกับเรื่องการโค้ช
2.      เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกการโค้ชอย่างกัลยาณมิตร
3.      เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมความรู้ด้านการโค้ชเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงตนเอง  จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการโค้ชอย่างกัลยาณมิตรมาก่อน
4.      เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และความเข้าใจเรื่องการโค้ชเพื่อนำ          การเปลี่ยนแปลงตนเอง
5.      เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้วางแผนการโค้ชครู  และศึกษานิเทศก์






ประโยชน์
1.      ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้คิดและสร้างเสริมแนวคิดและแนวปฏิบัติในการโค้ชผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.      จะเกิดการสร้างและขยายเครือข่าย โค้ชผู้นำการเปลี่ยนแปลงตนเองของครู  และศึกษานิเทศก์  เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
3.      สัมพันธภาพระหว่างครู  ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหาร  นักการศึกษา  และผู้ที่เกี่ยวข้องจะเปลี่ยนไปสู่ความสัมพันธ์อย่างกัลยาณมิตรผู้เอื้ออาทร  สร้างสรรค์และสนับสนุน   การคิดและการกระทำอย่างมีวิจารณญาณ  สู่การร่วมรังสรรค์การเปลี่ยนผ่านตนเองและชุมชน  ในทุกระดับให้ร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  เพื่อรองรับการกระจายอำนาจตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ
เวลาที่ใช้  5   ชั่วโมง
กิจกรรมการฝึกอบรม   เทคนิคการนิเทศแบบ Coaching
กิจกรรมที่ 1: ความรู้เดิมเกี่ยวกับการโค้ช

เกริ่นนำ  เรื่อง  การโค้ช (coaching)

ย้อนรอยแล้วถอดรหัสความรู้เดิม (ใบงานที่ 1)

สรุปความรู้เดิมและคำถามที่สนใจ

แนะนำกิจกรรม  และแบ่งกลุ่ม (ใบงานที่ 2)

ออกแบบการโค้ชกรณีที่ 1  (Design 1)

จำลองสถานการณ์และปฏิบัติการโค้ชรอบที่ 1

จำลองสถานการณ์และปฏิบัติการโค้ชรอบที่ 2

จำลองสถานการณ์และปฏิบัติการโค้ชรอบที่ 3
กิจกรรมที่ 2: แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ เพื่อนโค้ช

ประมวลคำถามจากกิจกรรมที่ 2: เรียนรู้จากปฏิบัติการโค้ช

เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  กับ เพื่อนโค้ช จากโครงการ SEET (Strengthening Environmental Education in Thailand) เป็นต้น  (ใบงานที่ 3)
กิจกรรมที่ 3: ออกแบบการโค้ช

สรุปหลักการและเทคนิคการโค้ชที่เป็นความรู้ใหม่

ใช้ความรู้ใหม่ออกแบบการโค้ชกรณีที่ 2  (Design 2)  (ใบงานที่ 4)

จำลองสถานการณ์และปฏิบัติการโค้ชแล้วสะท้อนคิดจากปฏิบัติการโค้ช
สื่อแผนการจัดกิจกรรมแผนย่อยที่  4   กระบวนการนิเทศ       
กรณีศึกษา
เรื่อง  กระบวนการนิเทศของฉัน
            ผมชื่อกรณี  ศึกษางาน  เรียนจบวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรเมื่อ  2  ปีที่แล้ว  หัวหน้ากลุ่มนิเทศฯ  โดยความเห็นชอบของ  ท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้มอบหมายให้ประจำกลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้รับผิดชอบโรงเรียนขนาดเล็ก  จำนวน  6  แห่ง  มีครูรวมกัน  41  คน  เป็นชาย  14  คน  หญิง  27  คน  ในที่นี้เป็นผู้บริหารชาย  4  คน  หญิง  2  คน  อายุเฉลี่ยของครูและผู้บริหารทั้ง 6  โรงเรียน  48  ปี  มีนักเรียน  642  คน  ชาย  301  คน  หญิง  341  คน  เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษาปีที่  6  ครูบางคนสอน  2  ชั้น  เพราะขาดแคลนครูแต่โชคดีที่มีนักเรียนไม่มากนัก  ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ขยันขันแข็ง  ร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน  รักและสามัคคีกันดี  ผู้บริหารได้รับการยอมรับจากเพื่อนครูทุกคน  ผลการประเมินคุณภาพระดับชาติ เมื่อสิ้นปีการศึกษาที่ผ่านมาของทุกโรงเรียนทุกชั้นและกลุ่มสาระสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีเพียงบางกลุ่มสาระที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่  คณิตศาสตร์  ชั้น ป.3  และวิทยาศาสตร์  ชั้น ป.6  และต่ำกว่าผลการประเมินในปีก่อน ๆ  แต่เมื่อจัดระดับคุณภาพโดยรวมทุกกลุ่มสาระอยู่ในกลุ่มกลางๆ  ไม่ถึงกับหางแถว  ทั้งผมและครูในโรงเรียนที่รับผิดชอบต่างพากันโล่งใจเล็กน้อย  แต่ก็ยังกังวลอยู่ดีเพราะ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา  ได้ประกาศนโยบายให้ทุกโรงเรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้น/กลุ่มสาระ  คำถามที่ผมได้รับจากผู้บริหารโรงเรียนในฐานะที่เป็นศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน  คือ  จะทำอย่างไรกันดีท่าน  ศน.  จึงจะยกระดับคุณภาพได้  มันเป็นคำถามสั้น ๆ  แต่ท้าทายมาก  ประกอบกับจุดเน้นการนิเทศ  ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกับของกลุ่มนิเทศฯ  เพื่อสนองนโยบายของ  ผอ.สพท.  เช่นเดียวกันก็คือ  นิเทศเพื่อช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกแห่ง  แม้จะกังวลแต่ก็ยังมั่นใจเพราะความตั้งใจของผู้บริหารและครูที่แสดงให้เห็นตลอดมาผมเริ่มจัดให้การบ้านข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกของภารกิจในความรับผิดชอบทั้งหมดของผม  สมองผมเริ่มทำงาน  ตั้งใจอย่างมีสมาธิ     คิดอย่างเป็นระบบย้อนระลึกถึงหลักวิชาที่ร่ำเรียนมาแล้วสร้างมโนภาพเส้นทางแห่งความสำเร็จ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงภาพสุดท้ายแห่งความสำเร็จอย่างเป็นขั้นตอน  แล้วบันทึกไว้ในสมุดบันทึกรายวันเล่มเล็กของผม ต่อมาบันทึกนี้ได้รับการปรับปรุงเติมเต็มเป็นแผนการนิเทศฉบับสมบูรณ์และใช้กับโรงเรียนทั้ง      6  แห่ง  ที่ผมรับผิดชอบ       ผมเริ่มทำงานตามความตั้งใจโดยศึกษาคุณภาพของโรงเรียนทุกแห่งจากอดีตถึงปัจจุบันทุกชั้น/กลุ่มสาระที่มีผลการประเมินแล้วPlotเป็นกราฟเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนแล้วยังศึกษาถึงครูผู้สอน  ก็พบว่าส่วนใหญ่เป็นคนเดิมสอนชั้นเดิมมีย้ายบ้างช่วงปีที่ผ่านมา  2  คน  แต่ก็เป็นครูสอนระดับปฐมวัย  และสิ่งที่พบในโรงเรียนทุกแห่งเหมือนๆ กันก็คือครูส่วนใหญ่ไม่มีแผนจัดการเรียนรู้ ที่มีแผนฯ ก็ไม่ละเอียดพอ  นำไปใช้จริงไม่ได้และยังพบอีกว่าครูที่สอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ขาดความถนัดเพราะไม่ได้เรียนเป็นวิชาเอกหรือวิชาโทมาก่อน เคยสอนมาบ้างเท่านั้นเอง แต่ข้อดีและเป็นปัจจัยเสริมทางบวกก็เห็นความตั้งใจและขยันหมั่นเพียรและทำงานเป็นทีมทุกโรงเรียน  ผู้บริหารเป็นที่ศรัทธาของครูในโรงเรียน  ผมจึงขายความคิดให้กับผู้บริหารของทุกโรงเรียนก่อนว่ายังมีความหวังในความสำเร็จ  โดยชี้ให้เห็นข้อมูลที่ผมศึกษามาก่อนด้วย  Power Point ที่เป็นเครื่องมือคู่ใจของผมและเสนอให้ผู้บริหารได้นำเรื่องนี้หารือกับคณะครูทั้งโรงเรียน  ผู้บริหารส่วนใหญ่ใจร้อน เสนอผมว่าจะแจ้งครูให้ดำเนินการแก้ปัญหาที่พบตามที่คุยกับผม แล้วให้ผมช่วยดูแลการทำงานของครู  แต่ผมได้โน้มน้าวให้ผู้บริหารเปลี่ยนใจโดยปรึกษาหารือกับครูก่อนดำเนินการ  โรงเรียนทุกแห่งจึงมีการประชุมครูโดยผมเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลที่ศึกษามาพร้อมด้วยเครื่องมือนี้ใช้กับผู้บริหาร  ครูทุกคนเห็นตรงกับว่าภารกิจสำคัญ  คือ  การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ผู้บริหารและผมช่วยกันตั้งคำถามให้ที่ประชุมช่วยคิดค้นสาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น่าพอใจคืออะไร  มีคำตอบจากที่ประชุมหลากหลาย  เช่น  พื้นฐานเด็กไม่ดี  เด็กน้อยเรียนไม่สนุก  พ่อแม่ไม่ช่วยสอนการบ้าน ฯลฯ  แต่ที่ครูส่วนใหญ่เห็นตรงกัน  คือ  การเตรียมการสอนของครูยังไม่ดีพอ  ดูได้จาก  ไม่มีแผนจัดการเรียนรู้หรือมีก็ไม่ได้ใช้เพราะทำไว้เผื่อว่าจะมีคนมาตรวจ  ผู้บริหารมีคำถามต่อทันทีว่าแล้วจะแก้ปัญหาอย่างไรดี  จะให้ช่วยอย่างไร  ผมเสริมทันทีว่า  ผมพร้อมจะร่วมมือด้วย  นัยน์ตาครูมีแววแห่งความหวังเพิ่มขึ้น  จากการที่ผู้บริหารและผมเอ่ยปากอาสาร่วมมือเหตุการณ์ในที่ประชุมของแต่ละโรงเรียนเป็นไปด้วยความเป็นกัลยาณมิตรในที่สุดได้ข้อตกลงว่าจะเตรียมการสอนอย่างจริงจังด้วยการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้  แต่ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ในการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้ก่อนจึงทำได้โดยตกลงกันว่าควรอบรมร่วมกันในวันหยุดที่โรงเรียนใหญ่ที่สุด      1  วัน  ตามขั้นตอนที่กำหนดร่วมกัน
            วันอบรมผมเชิญศึกษานิเทศก์อีกท่านหนึ่งมาร่วมให้ความรู้  ผู้บริหารคนหนึ่งพูดนำถึงเหตุผลและวัตถุประสงค์การอบรม ผมเชื่อมต่อด้วยแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเตรียมการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบด้วยการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้ศึกษานิเทศก์ที่ผมเชิญมาขายความคิดเรื่องแผนจัดการเรียนรู้แบบ  Back  Ward  Design  แบบง่าย ๆ  ที่ประยุกต์มาจากแบบเต็มรูปแต่ยังคงจุดเน้นที่สำคัญเอาไว้  เช่น  เริ่มต้นจากการกำหนดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  ตัวชี้วัด/ประเมินผล  แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  สื่อการเรียนรู้ฯลฯ ผู้อบรมก็ยอมรับด้วยดี


            เพื่อนผมเริ่มชวนผู้เข้ารับการอบรมสนทนาตามลำดับขั้นตอนที่ร่วมกันกำหนดไว้ 
ผมช่วยเสริมเติมเต็ม  ผู้บริหารเดิมเยี่ยมชมชวนคุยด้วยความเป็นมิตรตลอดเวลา  สายตาของทุกคนในห้องประชุมสื่อแววความสุขและความสมหวังการอบรมวันนั้นจบลงด้วยพันธสัญญาร่วมกันว่า  ทุกคนจะกลับไปเขียนแผนจัดการเรียนรู้  ผู้บริหารสัญญาว่าจะให้การสนับสนุนทุกเรื่องที่จำเป็น  ทั้งทรัพยากรโอกาสและเวลา  ผมและเพื่อนที่ร่วมเป็นวิทยากรสัญญาว่าจะดูแลเสริมสร้างความเข้าใจให้กับครูทุกคนเป็นการเพิ่มเติมอีกตามความจำเป็น       ผมได้ร่วมงานกับผู้บริหารและครูทุกโรงเรียนในเวลาต่อมาอีก  2  สัปดาห์ได้เห็นความ ก้าวหน้าของทุกคน  คนที่เข้าใจดี  จะพาเพื่อนทำงานด้วย  ส่วนคนที่ตามไม่ทัน  ผมได้เพิ่มพูนความรู้ให้อีกครั้งหนึ่งจนกระจ่างและทำงานต่อได้
            ผมจะถูกถามเสมอว่า  อย่างนี้ใช่ไหม  อย่างนี้ถูกไหม  ผมพยายามไม่ให้คำตอบตรง ๆ  แต่จะตอบเป็นคำถามตามเทคนิคที่เคยร่ำเรียนมาแล้ว  เช่น  ได้ตั้งใจให้เด็กเกิดอะไร  แล้วกิจกรรม
ที่ระบุจะทำให้เกิดได้หรือไม่  เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อต้องการกระตุ้นให้ครูคิดเองจนเกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจในความคิดของตนเอง  นำสู่การพัฒนางานที่ยั่งยืน  ผู้บริหารโรงเรียนก็พลอยตอบคำถามลีลาเดียวกับผมไปด้วย (ผมนึกกระหยิ่มว่าการนิเทศผู้บริหารของผมสำเร็จไปแล้วส่วนหนึ่งนะนี่)  นอกจากนั้นยังเป็นคนที่มีรอยยิ้มและเอ่ยคำชม  และให้กำลังใจแก่ครูอย่างน่าทึ่งทีเดียว
            ผมยุให้ครูนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่แต่ละคนเขียนเสร็จแล้วมาแลกเปลี่ยนกันดู  แต่ละคนได้คำชมและข้อเสนอแนะจากเพื่อน ๆ อย่างพอใจ  ผู้บริหารบางท่านได้กล่าวชื่นชมแผนจัดการเรียนรู้ของครูบางคนอย่างชื่นใจและกล่าวย้ำว่า  นี่เป็นแบบอย่างที่น่าสนใจทำเอาเจ้าของผลงานยิ้มแบบเขินนิด ๆ  พองามสมกับวัยของครูสตรีผู้อาวุโส  แต่ก็ไม่วายมีเรื่องรำพึงว่าจะสอนได้อย่างนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้  แต่น้อง ๆ  ก็ให้กำลังใจจนเจ้าตัวรู้สึกมั่นใจยิ่งขึ้น
            จากที่เคยไปโรงเรียนวันเว้นวัน  ผมเริ่มเว้นระยะห่างเป็นสัปดาห์ละ  1  วัน  เพื่อติดตามผลงาน  เป็นที่น่าชื่นใจว่าครูทุกคนได้จัดทำแผนจัดการเรียนรู้ได้ตามข้อตกลง  ผมและผู้บริหารรวมถึงเพื่อนผมที่เชิญเป็นวิทยากรด้วย  เห็นตรงกันว่ามีคุณภาพในระดับที่พอใจนำไปใช้สอนได้และได้รายงานให้หัวหน้ากลุ่มฯและ ผอ.เขต ทราบเป็นระยะ ๆ เสมอ
            ผู้บริหารทั้ง  6  โรงเรียนได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและเอาจริงเพราะสังเกตว่าพูดอะไรพูดตรงกัน  มีข้อตกลงร่วมกันหลายเรื่อง  เช่น  ให้ครูทดลองใช้แผนจัดการเรียนรู้ที่เขียนเองสอนจริงทุกคนโดยให้จับคู่กันสังเกตการณ์สอนแล้วให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกันจากการจับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้  2  คน  ก็ขยายวงเพิ่มขึ้นเป็น  4  คน  บางโรงเรียนสลับคู่กันสังเกตการณ์สอน  บางโรงเรียนแลกเปลี่ยนกันทั้งโรงเรียนเพื่อตรวจสอบคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ของตนเอง
            ผมเริ่มผ่อนแรงตนเองในการดูแลครู  โดยได้ร่วมกับผู้บริหาร.........ให้ครูที่มีแววเป็นผู้นำ  มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากเพื่อนครู  ให้เป็นพี่เลี้ยงให้กับครูทุกคนเพื่อพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้และนำสู่การสอนอย่างมีประสิทธิภาพ  ตามรูปแบบและวิธีการที่คณะครูตกลงกันเอง  โดยผมเองและผู้บริหารโรงเรียนร่วมกับสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปด้วยดี
            ใกล้เวลาประเมินคุณภาพการศึกษาแล้ว  ผมและผู้บริหารมั่นใจว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน  ได้สอบถามครูส่วนใหญ่ของทุกโรงเรียนเหมือนทำ  Exit Pole  ได้คำตอบว่ามีความมั่นใจสูงพอสมควร
            ถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ตั้งใจไว้ในกระบวนการนิเทศแล้ว  จึงได้ตรวจสอบดูว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผมสำเร็จมากน้อยเพียงใด  ถึงแม้ว่าสายตาตนเองจะมองว่าพอใจแล้ว  แต่ก็ตัดสินใจประเมินอย่างเป็นระบบอีกครั้งหนึ่ง  โดยได้กำหนดว่าจะประเมินครูและผู้บริหารว่ามีความรู้  ความเข้าใจและมีทักษะเพียงใด  ผลงานอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้เพียงใด  มีความพึงพอใจกระบวนการทำงานของผมเพียงใด  มีแนวโน้มที่จะเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาหรือไม่ซึ่งเป็นการวัดความสำเร็จของการนิเทศ  ซึ่งดูได้จากการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของครูซึ่งมีผลงานเป็นเครื่องยืนยัน
            ผมได้สร้างแบบสอบถามง่าย ๆ  1  ฉบับ  30  ข้อ  เป็นการให้ระดับคุณภาพแล้วให้เพื่อศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลฯ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ  จากนั้นได้ส่งให้ผู้บริหารและครูในโรงเรียนทั้ง  6  แห่งทุกคน  เป็นผู้ตอบ  ได้แบบสอบถามกลับคืนมาเกือบ  100  จึงได้ขอให้เพื่อนศึกษานิเทศก์ใช้  Program  SPSS  ประมวลผลให้  ผมเห็นเขาทำง่ายมากใช้เวลาไม่มากเลยผล
ก็ออกมา  ยังคิดว่าต้องเรียนรู้บ้างแล้ว
            ผมได้วิเคราะห์ผลการประเมินและจัดทำเป็นรายงานฉบับเล็ก ๆ  เหมือนเป็นการเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์แล้วนำเสนอ  ผอ.เขต และหัวหน้ากลุ่มนิเทศฯ  พร้อม  Power Point  15  เฟรม  ได้รับคำชมปนข้อเสนอแนะว่า  เป็นรายงานที่ดีน่าสนใจอ่านง่ายสั้นกะทัดรัด  ถ้าให้  ศน. ทุกคนทำอย่างนี้ได้หรือไม่?  ผมอ่านแล้วก็ตอบในใจว่า  ............ครับ
            นอกจากนี้ผมยังได้ทำแผ่นพับผลการดำเนินงานภาพรวม  4  หน้า  แจกให้กับโรงเรียน
ทุกแห่ง  ศึกษานิเทศก์และบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่ทุกคน  และตั้งใจว่า  ผมจะทำงานนี้อย่างเป็นระบบต่อไป  ตามที่ท่าน  ผอ. เสนอแนะ
            ผมลืมบอกไปว่าผลการประเมินทุกประเด็นอยู่ในระดับพอใจมาก / ดีมาก  ยกเว้น  2  ประเด็น  อยู่ในระดับพอใจและควรแก้ไข  คือ  นิเทศได้ตามความต้องการของโรงเรียน  และ  นิเทศได้ต่อเนื่อง
            ผมไม่มีข้ออภิปรายโต้แย้งผลการประเมินแต่อย่างใดเลย  เพราะเป็นโรคประจำตัวของผมมานานแล้ว  พยายามรักษาอยู่แต่ก็ยังไม่หาย  คือ  ไม่สามารถนิเทศโรงเรียนตามปฏิทินที่กำหนดไว้  ได้ซักทีท่านคงไม่เหมือนผม........ท่านแน่มาก...ขอคำแนะนำด้วยครับ
                                                                                       กรณีศึกษางานกลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรฯ
ใบความรู้
เรื่อง  กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE
             กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ของอาจารย์สงัด  อุทวานันท์  มี 5 ขั้นตอน คือ
             1.   การวางแผน (P-Planning)
             2.   การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing-I)
             3.   การดำเนินการนิเทศ (Doing-D)
             4.   การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R)
             5.   การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E)
             มีรายละเอียด ดังนี้
             1.   การวางแผน (P-Planning) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำการประชุม ปรึกษาหารือ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศที่จัดขึ้น
             2.   ให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงสิ่งที่จะดำเนินการว่าต้องอาศัยความรู้ ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไรและจะดำเนินการอย่างไรให้ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ ขั้นตอนนี้จำเป็นทุกครั้งสำหรับเริ่มการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และเมื่อมีความจำเป็นสำหรับงานนิเทศที่ยังเป็นไปไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ถึงขั้นที่พอใจ ซึ่งจำเป็น  ที่จะต้องทบทวนให้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
             3.   การดำเนินการนิเทศ (Doing-D) ประกอบด้วยการปฏิบัติงาน 3 ลักษณะ คือการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศ(ครู) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ(ผู้นิเทศ) การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ(ผู้บริหาร)
             4.   การสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ (Reinforcing-R) เป็นขั้นตอนของการเสริมแรงของผู้บริหารซึ่งให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขั้นนี้อาจดำเนินไปพร้อมๆกับผู้รับการนิเทศที่กำลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงาน     ได้เสร็จสิ้นแล้วก็ได้
             5.   การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E) เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศนำการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศ หากพบว่ามีปัญหาหรือมีอุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผล สมควรที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไข อาจทำได้โดยการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ปฏิบัติใหม่อีกครั้ง ในกรณีที่ผลงานยัง
ไม่ถึงขั้นน่าพอใจ หรือได้ดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมดไปแล้ว ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ สมควรที่จะต้องวางแผนร่วมกันวิเคราะห์หาจุดที่ควรพัฒนาหลังใช้นวัตกรรมด้านการเรียนรู้เข้ามานิเทศ
กรณีปฏิบัติงานมีคุณภาพแล้ว
 
กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE สรุปเป็นแผนภูมิได้

 


















ในกรณีคุณภาพไม่ถึงขั้น


 

ในกรณีที่ทำยังไม่ได้ผล

 



ที่มา :     สงัด  อุทรานันท์, การนิเทศ :หลักการทฤษฎีและปฏิบัติ, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2530.



ใบความรู้
เรื่อง กระบวนการนิเทศโดยกระบวนการเดมมิง (Demming Circle)
             การทำวงจรเดมมิง (Demming Circle) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า PDCA มาใช้เป็นกระบวนการนิเทศการศึกษา โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
             1.   การวางแผน (P-Planning)
             2.   การปฏิบัติตามแผน (D-Do)
             3.   การตรวจสอบ/ประเมินผล (C-Check)
             4.   การปรับปรุงแก้ไข (A-Act)

             สรุปเป็นแผนภูมิได้ ดังนี้

 











จากแผนภูมิกระบวนการ PDCA แต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้
             1.   การวางแผน (P-Plan)
                   1.1    การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ
                   1.2    การกำหนดจุดพัฒนาการนิเทศ
                   1.3    การจัดทำแผนการนิเทศ
                   1.4    การจัดทำโครงการนิเทศ


             2.   การปฏิบัติงานตามแผน (D-Do)
                   2.1    การปฏิบัติตามขั้นตอนตามแผน/โครงการ
                   2.2    การกำกับติดตาม
                   2.3    การควบคุมคุณภาพ
                   2.4    การรายงานความก้าวหน้า
                   2.5    การประเมินความสำเร็จเป็นระยะ ๆ
             3.   การตรวจสอบและประเมินผล (C-Check)
                   3.1    กำหนดกรอบการประเมิน
                   3.2    จัดหา/สร้างเครื่องมือประเมิน
                   3.3    เก็บรวบรวมข้อมูล
                   3.4    วิเคราะห์ข้อมูล
                   3.5    สรุปผลการประเมิน
             4.   การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (A-Act)
                   4.1    จัดทำรายงานผลการนิเทศ
                   4.2    นำเสนอผลการนิเทศและเผยแพร่
                   4.3    พัฒนาต่อเนื่อง

ที่มา :     คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน , คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์,  กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา,  2550.




ฟรี...ข้อสอบออนไลน์ โดย ติวสอดอทคอม  (อ.นิกร)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อัพเดท / เรื่องใหม่

ข่าวการศึกษา

หนังสือราชการ

1.¢èÒÇ»ÃСÒȨҡ ʾÃ. 2.¢èÒǨҡࢵ¾×é¹·ÕèµèÒ§æ

ข่าวประจำวัน

วิดีโอคลิปน่าสนใจ

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
กลับหน้าหลัก