ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ข้อสอบ ภาค กข การบริหารงานในหน้าที่

ข้อสอบภาค กข การวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภาค ก 13 จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้บริหาร

ภาค ก 13 จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้บริหาร

มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วยมาตรฐาน ๓ ด้าน คือ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ)  

โดยจรรยาบรรณของวิชาชีพได้มีการกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อประมวลพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างของการประพฤติปฏิบัติ ประกอบด้วย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์




มาตรฐานความรู้
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
๑. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองโดยมีความรู้ดังต่อไปนี้
๑.๑ หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
๑.๒ นโยบายและการวางแผนการศึกษา
๑.๓ การบริหารด้านวิชาการ
๑.๔ การบริหารด้านธุรการการเงินพัสดุและอาคารสถานที่
๑.๕ การบริหารงานบุคคล
๑.๖ การบริหารกิจการนักเรียน
๑.๗ การประกันคุณภาพการศึกษา
๑.๘ การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑.๙ การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน
๑.๑๐ คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
๒. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสถานศึกษาที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
๑. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี  หรือ
๒. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและต้องมีประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าหมวด  หรือหัวหน้าสาย หรือหัวหน้างาน  หรือตำแหน่งบริหารอื่น ๆ ในสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี

มาตรฐานความรู้
สาระความรู้
สมรรถนะ
๑. หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
๑. หลักและทฤษฎีทางการบริหาร
และการบริหารการศึกษา
๒. ระบบและกระบวนการบริหารและ
การจัดการการศึกษายุคใหม่
๓. การสร้างวิสัยทัศน์ในการบริหาร
และจัดการการศึกษา
๔. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
๕. บริบทและแนวโน้มการจัดการการศึกษา

๑. สามารถนำความรู้ ความเข้าใจ       ในหลักการและทฤษฎีทางการบริหาร
การศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการ
บริหารการศึกษา
๒. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ
สร้างองค์ความรู้ในการบริหาร
จัดการการศึกษา
๓. สามารถกำหนดวิสัยทัศน์และ
เป้าหมายของการศึกษา
๔. สามารถจัดองค์กร โครงสร้างการบริหารและกำหนดภารกิจของครู
และบุคลากรทางการศึกษาได้เหมาะสม
๒. นโยบายและ     การวางแผนการศึกษา
๑. พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี             ที่มีผลต่อการจัดการศึกษา
๒. ระบบและทฤษฎีการวางแผน
๓. การวิเคราะห์และการกำหนด นโยบายการศึกษา
๔. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๕. การพัฒนานโยบายการศึกษา
๖. การประเมินนโยบายการศึกษา


๑. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำนโยบายการศึกษา
๒. สามารถกำหนดนโยบาย            วางแผนการดำเนินงานและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
๓. สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งให้เกิดผลดี คุ้มค่าต่อการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม
๔. สามารถนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ
๕. สามารถติดตาม ประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
๓. การบริหารด้านวิชาการ  
๑.  การบริหารจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒. หลักการและรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
๓. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
๔. หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศ
๕. กลยุทธ์การนิเทศการศึกษา
๖. การวางแผนและการประเมินผลการนิเทศการศึกษา
๗. ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา
๘. หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
๙. สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัย
๑.  สามารถบริหารจัดการการเรียนรู้
๒. สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
๓. สามารถนิเทศการจัดการเรียนรู้       ในสถานศึกษา
๔. สามารถส่งเสริมให้มีการวิจัย       เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้


มาตรฐานความรู้
สาระความรู้
สมรรถนะ
๔. การบริหาร ด้านธุรการ การเงิน พัสดุ  และอาคารสถานที่
๑. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการการเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่
๒. การจัดวางระบบควบคุมภายใน
๓. เทคนิคการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา
           
๑. สามารถจัดระบบงานสารบรรณ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. สามารถบริหารจัดการงบประมาณอย่างถูกต้องและเป็นระบบ
๓. สามารถวางระบบการบริหารและจัดการทรัพยากรภายในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔. สามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
๕. การบริหารงานบุคคล
- หลักการบริหารงานบุคคล

๑. สามารถสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้ามาปฏิบัติงาน
๒. สามารถจัดบุคลากรให้เหมาะสม        กับหน้าที่ที่รับผิดชอบ
๓. สามารถพัฒนาครูและบุคลากร ในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔. สามารถเสริมสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษา
๕. สามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา
๖. การบริหารกิจการนักเรียน
๑. คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๒. ระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
๓. การจัดกิจกรรมส่งเสริมและ          พัฒนาผู้เรียน


๑. สามารถบริหารจัดการให้เกิดกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน
๒. สามารถบริหารจัดการให้เกิดงานบริการผู้เรียน
๓. สามารถส่งเสริมการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
๔. สามารถส่งเสริมวินัย คุณธรรมจริยธรรมและความสามัคคีในหมู่คณะ
๗. การประกันคุณภาพการศึกษา

๑.  หลักการและกระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษา
๒. องค์ประกอบของการประกัน คุณภาพการศึกษา
๓. มาตรฐานการศึกษา
๔. การประกันคุณภาพภายในและภายนอก
๕. บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพการศึกษา
๑. สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ ของสถานศึกษา
๒. สามารถประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๓. สามารถจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินภายนอก

มาตรฐานความรู้
สาระความรู้
สมรรถนะ
๘. การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
๒. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
๓. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้

๑. สามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและ การปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
๒. สามารถประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการ
๓. สามารถส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา   
๙. การบริหาร        การประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน    
๑. หลักการประชาสัมพันธ์
๒. กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน


๑. สามารถบริหารจัดการข้อมูล        ข่าวสารไปสู่ผู้เรียน ครู  และบุคลากรในสถานศึกษา
๒. สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของสถานศึกษาไปสู่ชุมชน
๓. สามารถใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์
๔. สามารถสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเข้าไปช่วยเหลือชุมชน และเปิดโอกาส ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
๕. สามารถระดมทรัพยากร และ            ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริม        การจัดการศึกษา
๑๐. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา  
๑. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร
๒. จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
๓. การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม
๔.  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๑. เป็นผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
๒. ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
๓. ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ร่วมงาน          มีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม

มาตรฐานที่ ๑ ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา
คุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารมืออาชีพ คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพ ได้แก่ การเป็นผู้ริเริ่ม ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมจัดงานหรือกิจกรรม รวมทั้งการเป็นผู้เสนอผลงานและเผยแพร่ผลงานขององค์กรเพื่อให้สมาชิกยอมรับและเห็นคุณประโยชน์ของผู้บริหารที่มีต่อการพัฒนาองค์กร ตลอดจนการนำองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสังคมโดยส่วนรวม

มาตรฐานที่ ๒ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน
ผู้บริหารมืออาชีพแสดงความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดีต่อองค์กร ผู้ร่วมงาน  ผู้เรียน และชุมชน ด้วยการตัดสินใจในการทำงานต่าง ๆ เพื่อผลการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย การตัดสินใจของผู้บริหารต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของการกระทำ เนื่องจากการตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อองค์กรโดยส่วนรวม ผู้บริหารจึงต้องเลือกแต่กิจกรรมที่จะนำไปสู่ผลดี ผลทางบวก ผลต่อการพัฒนาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และระมัดระวังไม่ให้เกิดผลทางลบโดยมิได้ตั้งใจ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความไว้วางใจ ความศรัทธา และความรู้สึกเป็นที่พึ่งได้ของบุคคลทั้งปวง

มาตรฐานที่ ๓ มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
ความสำเร็จของการบริหาร อยู่ที่การดำเนินการเพื่อให้บุคลากรในองค์กรหรือผู้ร่วมงานได้มีการพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ผู้บริหารมืออาชีพต้องหาวิธีพัฒนาผู้ร่วมงาน โดยการศึกษาจุดเด่น จุดด้อยของผู้ร่วมงาน กำหนดจุดพัฒนาของแต่ละคน และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับการพัฒนาด้านนั้น ๆ แล้วใช้เทคนิคการบริหารและการนิเทศภายในให้ผู้ร่วมงานได้ลงมือปฏิบัติจริง ประเมิน ปรับปรุง ให้ผู้ร่วมงานรู้ศักยภาพ เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับตน และลงมือปฏิบัติจนเป็นผลให้ศักยภาพของผู้ร่วมงานเพิ่มพูนพัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง นำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๔ พัฒนาแผนงานขององค์การให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
ผู้บริหารมืออาชีพวางแผนงานขององค์กรได้อย่างมียุทธศาสตร์ เหมาะสมกับเงื่อนไขข้อจำกัดของผู้เรียน ครู ผู้ร่วมงาน ชุมชน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบาย แนวทาง เป้าหมายของการพัฒนา เพื่อนำไปปฏิบัติจนเกิดผลต่อการพัฒนาอย่างแท้จริง แผนงานต้องมีกิจกรรมสำคัญที่นำไปสู่ผลของการพัฒนา ความสอดคล้องของเป้าหมาย กิจกรรม และผลงาน ถือเป็นคุณภาพสำคัญที่นำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูง มีความคุ้มค่าและเกิดผลอย่างแท้จริง

มาตรฐานที่ ๕ พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
นวัตกรรมการบริหารเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้บริหารในการนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ ผู้บริหารมืออาชีพต้องมีความรู้ในการบริหารแนวใหม่ ๆ เลือกและปรับปรุง ใช้นวัตกรรมได้หลากหลาย ตรงกับสภาพการณ์ เงื่อนไขข้อจำกัดของงานและองค์กร จนนำไปสู่ผลได้จริง เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้ร่วมงานทุกคนได้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ มีความภาคภูมิใจในผลงานร่วมกัน

มาตรฐานที่ ๖ ปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร
ผู้บริหารมืออาชีพเลือกและใช้กิจกรรมการบริหารที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของบุคลากรและองค์กร จนบุคลากรมีนิสัยในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอผู้บริหารต้องมีความเพียรพยายาม กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้บุคลากรมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และชื่นชมผลสำเร็จเป็นระยะ ๆ จึงควรเริ่มจากการริเริ่ม การร่วมพัฒนา การสนับสนุนข้อมูล และให้กำลังใจ ให้บุคลากรศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ และปรับปรุงงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง จนเกิดเป็นค่านิยม ในการพัฒนางานตามภาวะปกติ อันเป็นบุคลิกภาพ ที่พึงปรารถนาของบุคลากรและองค์กร รวมทั้งบุคลากรทุกคนชื่นชมและศรัทธาในความสามารถของตน

มาตรฐานที่ ๗ รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
ผู้บริหารมืออาชีพสามารถนำเสนอผลงานที่ได้ทำสำเร็จแล้วด้วยการรายงานผลที่แสดงถึงการวิเคราะห์งานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมการกำหนดงานที่จะนำไปสู่ผลแห่งการพัฒนา การลงมือปฏิบัติจริง และผลที่ปรากฏมีหลักฐานยืนยันชัดเจน การนำเสนอรายงานเป็นโอกาสที่ผู้บริหารจะได้คิดทบทวนถึงงานที่ได้ทำไปแล้วว่ามีข้อจำกัด ผลดี ผลเสีย และผลกระทบที่มิได้ระวังไว้อย่างไร ถ้าผลงานเป็นผลดี จะชื่นชม ภาคภูมิใจได้ในส่วนใด นำเสนอให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้อย่างไร ถ้าผลงานยังไม่สมบูรณ์จะปรับปรุงเพิ่มเติมได้อย่างไร และจะนำประสบการณ์ที่ได้พบไปใช้ประโยชน์ในการทำงานต่อไปอย่างไร คุณประโยชน์อีกประการหนึ่งของรายงานที่ดี คือ การนำผลการประเมินไปใช้ในการประเมินตนเอง รวมทั้งการทำให้เกิดความรู้สึกชื่นชมของผู้ร่วมปฏิบัติงานทุกคน การที่ผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสามารถและศักยภาพของตน เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่การรู้คุณค่าแห่งตน

มาตรฐานที่ ๘  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ผู้บริหารมีหน้าที่แนะนำ ตักเตือน ควบคุม กำกับดูแลบุคลากรในองค์กร การที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้ได้ผลดี ผู้บริหารต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี มิฉะนั้นคำแนะนำตักเตือน หรือ การกำกับดูแลของผู้บริหารจะขาดความสำคัญ ไม่เป็นที่ยอมรับของบุคลากรในองค์กร ผู้บริหารที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความยุติธรรม และบุคลิกภาพจะมีผลสูงต่อการยอมรับของบุคลากร ทำให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาต่อการบริหารงาน จนสามารถปฏิบัติตามได้ด้วยความพึงพอใจ

มาตรฐานที่ ๙  ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
หน่วยงานการศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งที่อยู่ในชุมชน  และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม ซึ่งมีองค์กรอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบ ทุกหน่วยงานมีหน้าที่ร่วมมือกันพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ ผู้บริหารสถานศึกษา / ผู้บริหารการศึกษาเป็นบุคลากรสำคัญของสังคมหรือชุมชนที่จะชี้นำแนวทางการพัฒนาสังคม  ให้เจริญก้าวหน้าตามทิศทางที่ต้องการ  ผู้บริหารมืออาชีพต้องร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นในการเสนอแนวทางปฏิบัติ แนะนำ ปรับปรุงการปฏิบัติ และแก้ปัญหาของชุมชนหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวม ในลักษณะร่วมคิด ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ ด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ พร้อมทั้งยอมรับความสามารถ รับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยและการร่วมมือกันในสังคม นำไปสู่การยอมรับและศรัทธาอย่างภาคภูมิใจ

มาตรฐานที่ ๑๐ แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
ความประทับใจของผู้ร่วมงานที่มีต่อผู้บริหารองค์กรอย่างหนึ่ง คือ ความเป็นผู้รอบรู้ ทันสมัย ทันโลก รู้อย่างกว้างขวางและมองไกล ผู้บริหารมืออาชีพจึงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกทุก ๆ ด้าน จนสามารถสนทนากับผู้อื่นด้วยข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย  และนำข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้รับ  มาใช้ในการพัฒนางานและผู้ร่วมงาน การตื่นตัว การรับรู้ และการมีข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศเหล่านี้ นอกจากเป็นประโยชน์ต่องานพัฒนาแล้ว ยังนำมาซึ่งการยอมรับและความรู้สึกเชื่อถือของผู้ร่วมงาน  อันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ลึกซึ่งต่อเนื่องต่อไป

มาตรฐานที่ ๑๑  เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ
ผู้บริหารมืออาชีพสร้างวัฒนธรรมขององค์กรด้วยการพูดนำ ปฏิบัตินำ และจัดระบบงาน ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม โดยการให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำงานได้สำเร็จแล้ว จนนำไปสู่การพัฒนาตนเอง คิดได้เอง ตัดสินใจได้เอง พัฒนาได้เอง ของผู้ร่วมงานทุกคน ผู้บริหารมืออาชีพจึงต้องแสดงออกอย่างชัดเจน และสม่ำเสมอเกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้ผู้ร่วมงานมีความมั่นใจในการปฏิบัติ จนสามารถเลือกการกระทำที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม แสดงออกและชื่นชมได้ด้วยคนเอง ผู้บริหารจึงต้องสร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จให้แก่บุคลากรแต่ละคนและทุกคน จนเกิดภาพความเป็นผู้นำในทุกระดับ นำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

มาตรฐานที่ ๑๒ สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์
การพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับความก้าวหน้าของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง  ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  สามารถปรับงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้สอดคล้อง  สมดุลและเสริมสร้างซึ่งกันและกัน  ผู้บริหารมืออาชีพจึงต้องตื่นตัวอยู่เสมอ  มองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  และกล้าที่จะตัดสินใจดำเนินการเพื่อผลในอนาคต  อย่างไรก็ตามการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงนี้  ย่อมเป็นสิ่งประกันได้ว่า  การเสี่ยงในอนาคตจะมีโอกาสผิดพลาดน้อยลง  การที่องค์กรปรับได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้  ย่อมเป็นผลให้องค์กรพัฒนาอย่างยั่งยืน  สอดคล้องกับความก้าวหน้าของโลกตลอดไป

 

จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ 

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๒. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๓. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องรัก  เมตตา  เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม  ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ  ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
๔. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้  ทักษะ  และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ  ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๕. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ทั้งทางกาย  วาจา  และจิตใจ
๖. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา  จิตใจ  อารมณ์  และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
๗. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค  โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๘. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์  โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม  สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม
๙. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ  สังคม  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญา  สิ่งแวดล้อม  รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ “ผู้บริหารสถานศึกษา”

จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ผู้บริหารสถานศึกษา  ต้องมีวินัยในตนเอง  พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ  บุคลิกภาพ  และวิสัยทัศน์  ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ  สังคม  และการเมืองอยู่เสมอ  โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและ              เป็นแบบอย่างที่ดี
(๒)  ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ
(๓)  ส่งเสริมและพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
(๔)  สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาความรู้และความคิดในวิชาชีพจนเป็นที่ยอมรับ
(๕)  ส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยมีแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
(๑)  เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่ารังเกียจในสังคม
(๒)  ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
(๓)  ไม่พัฒนาความรู้ในวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและองค์การ
(๔)  ไม่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(๕)  ไม่มีแผนหรือไม่ปฏิบัติงานตามแผนไม่มีการประเมินผลหรือไม่นำผลการประเมินมาจัดทำแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๒. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ
(๒)  รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
(๓)  ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพ        ให้สาธารณชนรับรู้
(๔)  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์สุจริต  ตามกฎ  ระเบียบ  และแบบแผนของทางราชการ
(๕)  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น  ตั้งใจ  และใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาครูและบุคลากร
(๖)  สนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาครู การเรียนการสอน และการบริหารสถานศึกษา
(๗)  ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
(๘)  เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์
(๑)  วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์การหรือวิชาชีพจนทำให้เกิดความเสียหาย
(๒)  ดูหมิ่น  เหยียดหยาม  ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ
(๓)  ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔)  ไม่ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ  ระเบียบ  หรือแบบแผนของทางราชการจนก่อนให้เกิดความเสียหาย
(๕)  ละเลยเพิกเฉยหรือไม่ดำเนินการต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ
(๖)  คัดลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๗)  บิดเบือนหลักวิชาการในการปฏิบัติงานจนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๘)  ใช้ความรู้ทางวิชาการวิขาชีพหรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๓. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก  เมตตา  เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม  ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
๔. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้  ทักษะ  และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
๕. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ทั้งทางกาย  วาจา  และจิตใจ
๖. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา จิตใจ  อารมณ์  และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
๗. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค  โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พฤติกรรมที่พึงประสงค์
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  ปฏิบัติงานหรือให้บริการอย่างมีคุณภาพโดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ
(๒)  ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน  และผู้ด้อยโอกาส
(๓)  บริหารงานโดยยึดหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๔)  รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของศิษย์และผู้รับบริการ
(๕)  ให้ครูและบุคลากร มีส่วนร่วมวางแผนการปฏิบัติงานและเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง
(๖)  เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับฟังความฟังความคิดเห็นยกย่อง ชมเชย  และให้กำลังใจอย่างกัลยาณมิตร
(๗) ให้ศิษย์และผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิด หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ
(๑)  ปฏิบัติงานมุ่งประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะเลือกปฏิบัติ
(๒)  เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับบริการในงานตามบทบาทหน้าที่

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๘. ผู้บริหารสถานศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พฤติกรรมที่พึงประสงค์
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒)  ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓)  เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
(๔)  ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕)  มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา
(๖)  ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

(๑)  นำเสนอแง่มุมทางลบต่อวิชาชีพข้อเสนอไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
(๒)  ปกปิดความรู้ ไม่ช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓)  แนะนำในทางไม่ถูกต้องต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพจนทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๔)  ไม่ให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ตนมีความถนัดแม้ได้รับการร้องขอ
(๕)  ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก ไม่ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๖)  ใช้อำนาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทำผิด  โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพหรือองค์การ
(๗)  ยอมรับและชมเชยการกระทำของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่บกพร่องต่อหน้าที่หรือศีลธรรมอันดี
(๘)  วิพากษ์  วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือแตกความสามัคคี

จรรยาบรรณต่อสังคม
๙. ผู้บริหารสถานศึกษา  พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ  สังคม  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญา  สิ่งแวดล้อม  รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑)  ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
(๒)  ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการ     หรือวิชาชีพแก่ชุมชน
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(๔)  เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
(๑)  ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒)  ไม่แสดงความเป็นผู้นำในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม
(๓)  ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม

อ่านทั้งหมด / โหลดเอกสารได้ที่  

ฟรี...ข้อสอบออนไลน์ โดย ติวสอดอทคอม  (อ.นิกร)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อัพเดท / เรื่องใหม่

ข่าวการศึกษา

หนังสือราชการ

1.¢èÒÇ»ÃСÒȨҡ ʾÃ. 2.¢èÒǨҡࢵ¾×é¹·ÕèµèÒ§æ

ข่าวประจำวัน

วิดีโอคลิปน่าสนใจ

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
กลับหน้าหลัก