ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

ข้อสอบ ภาค กข การบริหารงานในหน้าที่

ข้อสอบภาค กข การวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภาค ก 1 ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาค ก 1 ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ที่มา; http://122.154.22.188/newqsds/file_upload/yutthasart20ys.pdf

อ่านทั้งหมด / โหลดเอกสารได้ที่  


 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เผย นโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ มีทั้งสิ้น 11 ด้าน เน้นความมั่นคงและไร้ทุจริต
         
           วันนี้ (10 กันยายน 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้เผยแพร่คำแถลงนโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันศุกร์ที่ 12 กันยายนนี้ โดยคำแถลงนโยบายมีความยาวทั้งสิ้น 23 หน้ากระดาษ

          ทั้งนี้นโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์นั้น มีทั้งสิ้น 11 ด้าน ประกอบด้วย...
1. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์

           โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายมาตรการทางสังคมจิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจหรือประสงค์ร้าย มุ่งสั่นคลอนสถาบันหลักของชาติ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกและความผูกพันภักดีของคนอีกเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน ทั้งจะสนับสนุนโครงการทั้งหลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนเร่งขยายผลตามโครงการและแบบอย่างที่ทรงวางรากฐานไว้ให้แพร่หลายและเกิดประโยชน์ในวงกว้าง


2. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ

           2.1 ในระยะเร่งด่วน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน ประกอบด้วย

           - การบริหารจัดการชายแดน 

           - การสร้างความมั่นคงทางทะเล 

           - การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ 

           - การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้าน

           - การเสริมสร้างในการปฏิบัติการทางการทหารร่วมกันของอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือเพื่อป้องกัน แก้ไขข้อพิพาทต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนโดยใช้กลไกระดับทวิภาคีและพหุภาคี

           2.2 เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำยุทธศาสตร์ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนามาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี พร้อมส่งเสริมการพูดคุยสันติสุขกับผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ทั้งจะเพิ่มระดับปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่อาจช่วยคลี่คลายปัญหาได้

           2.3 พัฒนาและเสริมสร้างของกองทัพและระบบป้องกันประเทศให้ทันสมัย มีความพร้อมในการรักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ ปลอดพ้นจากการคุกคามทุกรูปแบบ ส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้

           2.4 เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศบนหลักการที่ว่านโยบายการต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายองค์รวมทั้งหมดในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ว่าในด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม โดยจะนำกลไกทางการทูตแบบบูรณาการมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม 


3. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ

           3.1 ในระยะเฉพาะหน้า จะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยให้แรงงานทั้งระบบมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในทุกระดับอย่างมีมาตรฐาน

           3.2 ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ การท่องเที่ยวที่เน้นบริการทางเพศและเด็ก และปัญหาคนขอทาน ด้วยการปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับที่จำเป็นและเพิ่มความเข้มงวดในการระวังตรวจสอบ

           3.3 ในระยะต่อไป จะพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ระบบการออมและระบบสวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการดูแลให้มีระบบการกู้ยืมที่เป็นธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้อัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิจัดสวัสดิการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีและเด็ก

           3.4 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการมีเงินหรือกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต โดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว รวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ

           3.5 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย 

           3.6 จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศไว้แล้ว

           3.7 แก้ปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกล้ำเขตป่าสงวน โดยการกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้ำ และออกมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกร ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจและวิธีการแผนที่ที่ทันสมัย แก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน 


4. การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

           4.1 จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ

           4.2 ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยอาจจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง

           4.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ 

           4.4 พัฒนาระบบการผลิดและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง 

           4.5 ทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน


5. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน

           5.1 วางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพให้มีความครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ และบูรณาการข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพ

           5.2 พัฒนาระบบบริหารสุขภาพ โดยเน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงมารักษา สร้างกลไกจัดการสุขภาพในระดับเขตแทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ปรับระบบการจ้างงาน การกระจายบุคลากรและทรัพยากรสาธารณสุขให้เหมาะสมกับท้องถิ่น 

           5.3 ประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และปัญหาด้านการแพทย์และจริยธรรมของการอุ้มบุญ การปลูกถ่ายอวัยวะและสเต็มเซลล์ โดยจัดให้มีมาตรการและกฎหมายที่รัดกุม


6. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

           รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที ระยะต่อไปที่ต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่ และระยะยาวที่ต้องวางรากฐานเพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

           6.1 ในระยะเร่งด่วน เร่งจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ที่ยังค้างอยู่ก่อนที่จะพ้นกำหนดภายในสิ้นปีนี้

           6.2 สานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้จัดทำไว้ โดยนำหลักการสำคัญของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการงบประมาณ และความพร้อมในการดำเนินงานร่วมนำแหล่งเงินอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย ทบทวนภารกิจที่มีลักษณะไม่ยั่งยืนหรือสร้างภาระหนี้สาธารณะของประเทศเกินความจำเป็น และแสดงรายการลงทุนในระดับจังหวัดเพื่อความโปร่งใส เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

           6.3 กระตุ้นการลงทุนด้ายการเร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนักลงทุนยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนไว้แล้วให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และนำโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานประเภทที่มีผลตอบแทนดี 

           6.4 ดูแลเกษตรให้มีรายได้ที่เหมาะสมด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ลดตุ้นการผลิต การช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึง

           6.5 ลดอุปสรรคในการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เช่น ปรับปรุงวิธีการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานการผลิตระดับไร่นา เป็นต้น

           6.6 ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยพิจารณามาตรการลดผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ที่มีต่อการท่องเที่ยวในโอกาสแรกที่จะทำได้ 

           6.7 ในระยะยาวต่อไป ประสานนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพของราคาอย่างเหมาะสม

           6.8 แก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและปัญหาขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่และบางฤดูกาล โดยระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออกไม่ให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงดังเช่นปี 2554 ส่วนภาวะภัยแล้งนั้นรัฐบาลจะเร่งดำเนินการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กให้กระจายครอบคลุม ซึ่งจะสามารถทำได้ในเวลาประมาณ 1 ปี

           6.9 ปฏิรูปโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับต้นทุนและให้มีภาระภาษีที่เหมาะสมระหว่างน้ำมันต่างชนิดและผู้ใช้ต่างประเภท รวมถึงการดำเนินการให้มีการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบรอบใหม่ทั้งในทะเลและบนบก และดำเนินการให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน ด้วยวิธีการเปิดเผย โปร่งใส และเป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อม พร้อมกับร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาพลังงาน

           6.10 ปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีให้จัดเก็บอย่างครบถ้วน โดยปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้คงภาษีเงินได้ไว้ในระดับปัจจุบัน ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่ปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีทางด้านการค้าและขยายรากฐานการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ ซึ่งจะจัดเก็บจากทรัพย์สิน เช่น ภาษีมรดก ภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยให้มีผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยให้น้อยที่สุด 

           รวมทั้งปรับปรุงการลดหย่อนภาษีเงินได้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อย และยกเลิกการยกเว้นภาษีประเภทที่เอื้อประโยชน์เฉพาะผู้ที่มีฐานะการเงินดี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น

           6.11 บริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนสูงมากกว่า 700,000 ล้านบาท และเป็นภาระงบประมาณใน 5 ปีข้างหน้า อันจะทำให้เหลืองบประมาณเพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศน้อยลง โดยประมวลหนี้เหล่านี้ให้ครบถ้วน หาแหล่งเงินระยะยาวมาสะสางหนี้ทั้งหมด และยืดระยะเวลาชำระคืนให้นานที่สุดเพื่อลดภาระของงบประมาณในอนาคต

           6.12 ในระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

           - ด้านการขนส่งและคมนาคมทางบก โดยเริ่มโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน กทม. และรถไฟฟ้าเชื่อม กทม. กับเมืองบริวารเพิ่มเติมเพื่อลดเวลาในการเดินทางของประชาชน เพื่อตั้งฐานให้รัฐบาลต่อไปทำได้ทันที 

           - ด้านคมนาคมทางอากาศ โดยปรับปรุงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานในภูมิภาค เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

           - ด้านการคมนาคมทางน้ำ โดยพัฒนาการขนส่งสินค้าทางลำน้ำชายฝั่งทะเล เพื่อลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เริ่มจากการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตลอดจนผลักดันให้ท่าเรือในลำน้ำเจ้าพระยาและป่าสักมีการใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าภายในประเทศและเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งการขุดลอกร่องน้ำลึก

           6.13 ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการในสาขาขนส่งที่มีการแยกบทบาทและภารกิจของหน่วยงานในระดับนโยบาย หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยปฏิบัติที่ชัดเจน และจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลระบบราง เพื่อทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัย โครงสร้างอัตราค่าบริการที่เป็นธรรม การลงทุน การบำรุงรักษาและการบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักของประเทศ

           6.14 พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ กำหนดเป้าหมายและมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนพิจารณาความจำเป็นในการคงบทบาทการเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

           6.15 ในด้านเกษตรกรรม ดำเนินการใน 2 เรื่องใหญ่ คือ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการด้วยวิธีการต่าง ๆ 

           6.16 ในด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ อาทิ ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้การออกแบบและสร้างสรรค์ เป็นต้น

           6.17 เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           6.18 ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ 


7. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน

           - เร่งพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งภายในอนุภูมิภาคและภูมิอาเซียน โดยเร่งขับเคลื่อนตามแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) แผนความร่วมมือแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) และแผนแม่บทความเชื่อมโยงในอาเซียน

           - พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเริ่มจากการพัฒนาด่านการค้าชายแดนและโครงข่ายการคมนาคมขนส่งบริเวณประตูการค้าหลักของประเทศเพื่อรองรับการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตและการลงทุนข้ามแดน พัฒนาระบบ National Single Window (NSW) โดยระยะแรกให้ความสำคัญกับด่านชายแดนที่สำคัญ 6 ด่าน ได้แก่ ปาดังเบซาร์ สะเดา อรัญประเทศ แม่สอด บ้านคลองลึก และบ้านคลองใหญ่


8. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และพัฒนา และนวัตกรรม

           8.1 สนับสนุนการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อมุ่งเป้าหมายให้ไม่ต่ำกว่า 1% ของรายได้ประชาชาติ และมีสัดส่วนรัฐต่อเอกชน 30:70 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน

           8.2 ส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น ด้านพลังงานสะอาด ระบบราง ยานยนต์ ไฟฟ้า การจัดการน้ำและขยะ ใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย และพัฒนาและนวัตกรรมของไทยตามความเหมาะสม ในกรณีที่จำเป็นจะต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะให้มีเงื่อนไขการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคตด้วย
       

9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

            9.1 ในระยะเฉพาะหน้า เร่งปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พร้อมส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่เอกชน เพื่อลดแรงกดดันในการตัดไม้จากป่าธรรมชาติ

           9.2 ในระยะต่อไป พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยยึดแนวพระราชดำริที่ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ เช่น การกำหนดเขตป่าชุมชนให้ชัดเจน

           9.3 บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้เป็นเอกภาพในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จัดให้มีแผนบริหารน้ำของประเทศ เพื่อให้การจัดทำแผนงานไม่เกิดความซ้ำซ้อนมีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

           9.4 เร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ และน้ำเสีย ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค ในพื้นที่ใดที่สามารถจัดการขยะมูลฝอยด้วยการแปรรูปเป็นพลังงานก็จะสนับสนุนให้ดำเนินการ ส่วนขยะอุตสาหกรรมนั้นจะวางระเบียบมาตรการเป็นพิเศษ โดยกำหนดให้ทิ้งในบ่อขยะอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นแบบมีมาตรฐาน และพัฒนาระบบตรวจสอบไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อ และใช้มาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด


10. การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ

           10.1 จัดระบบอัตรากำลังและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นวางใจในระบบราชการ ลดต้นทุนดำเนินการของภาคธุรกิจเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ การรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิภาพไว้ในระบบราชการ โดยจะดำเนินการตั้งแต่ระยะเฉพาะหน้าไปตามลำดับความจำเป็นและตามที่กฎหมายเอื้อให้สามารถดำเนินการได้

           10.2 ในระยะแรก กระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริหารสาธารณะได้รวดเร็ว ทั้งจะวางมาตรการทางกฎหมาย มิให้เจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยง ประวิงเวลา หรือใช้อำนาจโดยมิชอบก่อให้เกิดการทุจริต หรือสร้างความเสียหายแก่ประชาชนโดยเฉพาะนักลงทุน 

           ส่วนในระยะเฉพาะหน้า จะเน้นการปรับปรุงหน่วยงานให้บริการด้านการทำธุรกิจ การลงทุน และด้านบริการสาธารณะในชีวิตประจำวันเป็นสำคัญ

           10.3 เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายบุคลากรภาครัฐ วางมาตรการป้องกันการแทรกแซงจากนักการเมือง และส่งเสริมให้มีการนำระบบพิทักษ์คุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ

           10.4 ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายที่ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในภาครัฐทุกระดับ โดยถือว่าเรื่องนี้เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนแห่งชาติ และเป็นเรื่องที่ต้องแทรกอยู่ในการปฏิรูปทุกด้าน


11. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

           11.1 ในระยะเฉพาะหน้า จะเร่งปรับปรุงประมวลกฎหมายหลักของประเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ และเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจะใช้กลไกของหน่วยงานเดิมที่มีอยู่ และระดมผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจเป็นผู้เร่งดำเนินการ

           11.2 ในระยะต่อไป จะจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจาการแทรกแซงของรัฐ





ฟรี...ข้อสอบออนไลน์ โดย ติวสอดอทคอม  (อ.นิกร)

ภาค ก 2 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน





ภาค ก 2 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน

(คลิ๊ก) ลิงค์รวม อ่านคำสั่ง คสช.ทั้งหมด

สรุปสาระสำคัญของ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12" ดังนี้
        สาระสำคัญของกรอบรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะสอดรับกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี ในลักษณะของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระยะยาวลงสู่การปฏิบัติในช่วงเวลา 5 ปี โดยรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
      ส่วนที่ 1 กรอบหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
      ส่วนที่ 2 การประเมินสถานะของประเทศ
      ส่วนที่ 3 วัตถุประสงค์และเป้าหมายในภาพรวม
      ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
      ส่วนที่ 5 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนพัฒนา

วิสัยทัศน์
   สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 
   ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

กรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมาย 
   1. กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และ กรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน 
   โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ 
   2. การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategic Positioning) เป็นการกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้จัดทำขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ (Trading and Service Nation) เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย 
   1. การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง 
   2. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ 
   3. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 
   4. การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
   5. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ 

วางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ซึ่งจะเป็นแผนที่มีความสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เป็นกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว 
   รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเร่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในระยะยาว ครอบคลุมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศจะต้องมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจน โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการปฏิรูปประเทศที่มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในอนาคต 


เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
   สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศในระยะ 5 ปี จะยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนหน้า เพื่อให้การพัฒนาในทุกมิติมีการบูรณาการบนทางสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สอดคล้องกับภูมิสังคม การพัฒนาทุกด้าน มีดุลยภาพ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์ มีความสอดรับ เกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยการพัฒนาในมิติหนึ่งต้องไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อมิติอื่นๆ รวมทั้งต้องมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง มีศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมนำไปสู่การสร้างสังคมที่พึงปรารถนา รวมถึงมีจิตอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม


ที่มา/ฉบับเต็ม ; http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

อ่านทั้งหมด / โหลดเอกสารได้ที่  

ฟรี...ข้อสอบออนไลน์ โดย ติวสอดอทคอม  (อ.นิกร)

ภาค ก 3 การปฏิรูปการศึกษาและการนำไปสู่การปฏิบัติ

ภาค ก 3 การปฏิรูปการศึกษาและการนำไปสู่การปฏิบัติ


อ่านทั้งหมด / โหลดเอกสารได้ที่  





ฟรี...ข้อสอบออนไลน์ โดย ติวสอดอทคอม  (อ.นิกร)

ภาค ก 4 การบริหารและการจัดการคุณภาพการมัธยมและประถมศึกษา

ภาค ก 4 การบริหารและการจัดการคุณภาพการมัธยมและประถมศึกษา

 ทำไมต้องมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
          หากมองย้อนอดีตก่อนปี พ.ศ.  2542 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษาต่างก็ทำหน้าที่ภาระกิจของตนเองไป จนกระทั่งรัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย ได้ประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นการเริ่มต้นแห่งการเปลียนแปลงในวงการการศึกษามากมายทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา หรือ ประถมศึกษา เปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกระทรวงการศึกษา การศาสนา และวัฒนธรรมบ้าง สุดท้ายเป็นกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม มีการรวมกรมวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษากแห่งชาติ และกรมสามัญศึกษา โดยใช้ชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรม  จัดการศึกษาระดับจังหวัดโดยที่เรียกแบบเท่ห์ๆ "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา" โดยมีปรัชญาเดิมว่า กระทรวงศึกษาธิการ มี 14 กรม(เรียกกันเท่ห์ๆว่า 14 องค์ชาย)  เป็นกระทรวงใหญ่มาก ขาดเอกภาพในบริหารเชิงคุณภาพ จึงได้รวบเอาทบวงมหาวิทยาลัยมาร่วมวงกับกระทรวงศึกษาธิการด้วย ยิ่งทำให้การบริหารคุณภาพถดถอยลงมากๆ บางมหาวิทยาลัยต้องหาทางออกโดยออกนอกระบบของรัฐ บางมหาวิทยาลัยขอเป็นแค่ในกำกับของรัฐเท่านั้น  ส่วนกรมอาชีวศึกษาท่านฉลาดมากก็พากรมของท่าน กระโดดออกมาไม่ยอมอยู่ร่วมวงกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียนก็กระโดดไปอยู่สำนักงานปลัดกระทรวง เหลือแต่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมวิชาการ และกรมสามัญศึกษา(ซึ่งอธิบดีเป็น 9 อรหันต์) ตกลงกันขออยู่เป็นเขตพื้นที่การศึกษาด้วยกัน
          เมื่อเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วเกิดอะไรขึ้น?
1. ต้องมีวัฒนธรรมองค์เหมือนกัน
    ชาวประถมศึกษาและชาวมัธยมศึกษา มีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน
         วัฒนธรรมของชาวประถมศึกษา
เราต้องยอมรับว่าชาวประถมศึกษาของเรา เมื่อก่อนสังกัดอยู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศีกษาแห่งชาติ เมื่อปี 2520 การบริหารองค์กรอยู่ในรูปแบบ"องค์คณะ" ทุกระดับตั้งแต่ สปช สปจ สปอ และกลุ่มโรงเรียน ซึ่งเป็นข้อดีป้องกันผู้บริหารใช้อำนาจเผด็จการ แต่การบริหารแบบระบบอุปถัมภ์ ก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมไทย เพราะฉะนั้นเมื่อมาอยู่ในระบบสำนักงานเขตพื้นที่แล้ว มีการเลือกตั้งขึ้น รับประกันได้เลยว่า ชาวประถมศึกษาชนะผู้แข่งตลอดกาล และเรื่องของการสอบเข้าสู่ตำแหน่ง ชาวประถมศึกษาเขาฝึกซ้อมการสอบแข่งกันมาทุกระดับก็ไม่มีคู่แข่งหน้าจะชนะได้เลย ยกตัวอย่างที่ผ่านมา กคศ. เปิดโอกาสให้ ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด มาสอบแข่งขันเป็นรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อดูข้อมูลแล้วปรากฏว่า ผู้ช่วยผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัดมาเป็นอันดับ 1 อันดับ 2 ได้แก่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด และผู้ช่วยศึกษาธิการจัหวัดรั้งตำแหน่งที่ 3 ทุกครั้ง หากมีการสังเกตการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ต่างๆ เท่าที่รับทราบข้อมูลพออนุมาณได้ว่า ความพึงพอใจ หรือความก้าวทันสมัย หรือ การบริหารองค์กรให้มีคุณภาพ เรียงตามลำดับดังนี้คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มาจาก ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด  ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัด  แต่ล่วงเลยมา6-7 ปี แล้วพฤติการดังนี้เริ่มปรับเปลี่ยนคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่พฤติการลึกๆ ยังวิเคราะห์ถึงอดีดที่มาของแต่ละท่านได้เหมือนกัน 
         วัฒนธรรมของชาวมัธยมศึกษา
        นับตั้งแต่กรมสามัญศึกษาได้ตั้งขึ้น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ไม่มีหน่วยงานรองรับ กระทรวงฝาก ภาระกิจงานบริหารได้ฝากไว้กับศึกษาธิการจังหวัด หรือศึกษาธิการอำเภอ จนกระทั่งเป็นสำนักงานสามัญศึกษา ซึ่งผู้บริหารหน่วยงานคือ ประธานคณะกรรมการสามัญศึกษาจังหวัด ภายหลังปรับเปลี่ยนเป็นผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด เป็นการบริหารงานแบบแนวดิ่งแก่การสั่งการมาจากอธิบดีกรมสามัญศึกษา และผู้อำนวยการสามัญศึกษา สิ้นสุดที่โรงเรียน บริหารการศึกษายึดตัวผู้นำเป็นหลัก หากผู้นำดี มีคุณธรรม มีคุณภาพ มีผลทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าการศึกษามีคุณภาพแต่ทว่า ผู้นำขาดคุณธรรม ไม่มีคุณภาพ ก็เป็นความโชคร้ายขององค์กรเช่นกัน
     ชาวสามัญศึกษาจังหวัด แม้จะมีผุ้บังคับบัญชาเป็นบุคคล แต่ก็อยู่ด้วยความรักความอบอุ่น มีอะไรช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ไม่มีการแข่งแย่งชิงดี ชิงเด่น การโยกย้ายก็มีการเอื้อเฟื้อกัน นับถือความเป็นอาวุโส  ผู้บริหารที่อาวุโส จะดูแลช่วยเหลือผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอายุน้อย วัยวุฒิน้อยกว่า ผู้มีอายุน้อยกว่า จะเคารพให้เกียรติท่านที่อาวุโสกว่า ทั้งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จนกระทั่งขนาดเล็ก จะมีการเรียกขานแบบพี่แบบน้อง การเป็นผู้บริหารสถานศึกษานั้นส่วนใหญ่มาจากการทำงาน มีประสบการณ์ จนได้รับการคัดเลือก ซึ่งไม่เคยชินกับการสอบคัดเลือกฉะนั้นเมื่อมีกระบวนการสอบเข้าสู่ตำแหน่ง จึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก
         วัฒนธรรม ชาวสำนักงานศึกษาธิการ

      ชาวสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ก็อยู่แบบระบบราชการ ซึ่งบุคคลิกภาพจะเน้นในการเป็นนักวิชาการ นักปฏิบัติตามระเบียบราชการอย่างเคร่งครัด พูดง่ายๆ จะเนี๋ยบไปเกือบทุกเรื่องศึกษาธิการอำเภอ หรือศึกษาธิการจังหวัดบริหารคนที่มีความรู้ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย บริหารอยู่ที่สำนักงาน มีผู้มาติดต่อที่สำนักงานเอง ข้าราชการอยู่สำนักงานก็ไม่มากนัก ซึ่งต่างกับโรงเรียนผู้อำนวยการต้องแก้ปัญหาแต่วันไม่รู้สักกี่เรื่อง เดี๋ยวก้เด็กตีกัน รบกัน เดี๋ยวครูไม่เข้าใจกัน นินทาว่าร้ายต่อกัน บางแห่งพบครูประเภทประสบการณ์แก่กล้า พูดง่ายคือ เขี้ยวลากดิน ฯลฯ ฉะนั้นผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่มาจากศึกษาธิการจังหวัด จึงยึดระเบียบแบบแผนเป็นหลัก มุ่งผลสัมฤทธิ์สูง
      ปัจจุบันนี้ไม่ว่า ผู้อำนวยการเขตพื้นที่มาจาก สปจ ศสจ หรือ ศธจ ก็พยายามบูรณาการการบริหารให้สนองนนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การเดินทางไปทำงานของบุคลากรลำบากยิ่งขึ้น
         จากเมื่อก่อนชาวประถมศึกษามีความใกล้ชิดกัน เรื่องทุกเรื่องจะเบ็ดเสร็จอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาอำเภอ(สปอ) การบริหารงานมีความอบอุ่น เข้าใจซึ่งกันและกัน การเดินทางไปติดต่อราชการก็ไม่ไกล
         ส่วนชาวมัธยมศึกษาเขาก็มีสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด บริหารการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีปัญหาอะไรก็แก้ปัญหากันไป การเดินทางไปสำนักงานก็ไกลไปบ้างแต่ก็ยอมรับกันได้
3. อาคารสถานที่ตอนแรกๆก็มีปัญหากันอยู่มากมาย

ปัญหาด้านอาคารสถานที่          ดูเหมือนจะมีเสียงบ่นอยู่บ้างแต่สักระยะหนึ่งคงจะชินไปเอง สำหรับที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคงไม่มีปัญหาอะไร อย่างน้อยหน่วยงานต้นสังกัดจัดสรรงบประมาณมาให้ปรับปรุง ซึ่งจะใช้อาคารเรียนของหน่วยงานราชการเดิม แต่ที่สำคัญอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน การติดต่อราชการระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา กับโรงเรียนค่อนข้างเสียเวลานาน  ค่าใช้จ่ายสูง
4. การสือสารเทคโนโลยี่

  1. ปัญหาด้านการสื่อสาร/เทคโนโลยี่  สภาพความเป็นจริงนี้ เมื่อมีการรวมโรงเรียนประถม
ศึกษาเดิม(ช่วงชั้น 1-2)  และกรมสามัญศึกษาเดิม(ช่วงชั้น 3-4 ) ซึ่งมีประมาณ 23,000 โรงเรียน  การสื่อสารย่อมไม่พร้อมทั้งหมด โรงเรียนช่วงชั้น3-4 ส่วนใหญ่จะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี่ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เนต ส่วนโรงเรียนช่วงชั้นที่1-2  ส่วนมากยังไม่มีแม้แต่โทรศัพท์ ดังนั้นทำให้การบริหารการศึกษาแบบใหม่มีปัญหา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(บางเขต) ควรเร่งดำเนินการเรื่องนี้ ด้วย
5. ด้านวิชาการ

  1. ปัญหาด้านวิชาการ สภาพปัจจุบันหลักการจัดการศึกษาช่วงชั้นที่1-2 และ3-4 ได้จัดตามลักษณะสภาพชุมชน และความต้องการความสนใจของผู้เรียน  แต่ที่จะมีปัญหาอยู่ที่กระบวนการติดตามผล ซึ่งเป็นหน้าที่ ของฝ่ายติดตามประเมินของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคือกลุ่มศึกษานิเทศก์  ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ใช่ว่า จะเก่งทุกเรื่อง จะเก่งกว่าครูทุกคน จะนิเทศครูได้ทุกเรื่อง ศึกษานิเทศก์ใช่ว่า จบการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วจะเลอเลิศเก่งไปกว่าครูหรอก บางคนเคยแต่นิเทศก์แต่ช่วงชั้นที่1-2 จะไปนิเทศก์ช่วงชั้นที่3-4 ตามความเคยชินนั้นไม่ได้หรอก ขาดการยอมรับจากเพื่อนครู ศึกษานิเทศก์6-7 หรือ 8 บางคนเวลาไปนิเทศก์ติดตาม วางมาดนิเทศก์ต่อครู ให้เขียนสมุดเยี่ยมก็ไม่ยอมเขียนดื้อดันจะเขียนสมุดตรวจราชการของโรงเรียน ยังขาดองค์ความรู้เชิงบริหารเสียเลยว่า สมุดตรวจราชการใครมีสิทธิเขียน? ทำไมผู้บริหารไม่อยู่โรงเรียน? ทำอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ขอฝากให้ไว้ให้ศึกษานเทศก์ช่วงชั้น1-2 คิดด้วย หากได้รับมอบหมายให้ไปนิเทศช่วงชั้นที่3-4 ต้องเข้าไปอย่างฉลาดและเฉลียว มิใช่เข้าไปอย่างฉลาดแต่ขาดเฉลียว อย่างน้อยต้องศึกษา วัฒนธรรม/โครงสร้างแผนภูมิการบริหารโรงเรียนเสียก่อน ครั้งแรกเข้าไปไม่ต้องให้เป็นทางการ ควรจะเข้าไปเยี่ยมเยี่ยม ถามความทุกข์สุขซึ่งกันและกันก่อน ทำให้ครูเกิดศรัทธาในตัวศึกษานิเทศก์ก่อน นิสัยคนไทยเมื่อศรัทธาใครแล้ว ผู้นั้นจะดี เลวชั่วอย่างไรจะไม่คำนึง สามารถทำให้ได้ทุกอย่าง จึงขอฝากสำนักงานเขตพื้นการศึกษาช่วยกำชับกลุ่มศึกษานิเทศก์ ว่า อย่าวางมาดนิเทกศ์   นี้ปัญหาเบื้องต้นเชิงนิเทศติดตาม และยังมีปัญหาอื่นๆอีกมากมาย
6. ด้านบุคลากร
ปัญหาด้านบุคลากร ขณะนี้สำนักงานเขตฯบางแห่งมีบุลากรมากเกินไปแต่ไม่มีคุณภาพ ยังติดอยู่กับวัฒนธรรมเดิมๆ ตอนนี้ครู-อาจารย์ที่ติดต่อราชการไม่ใช่ครูกลุ่มเดิมของตนเอง อย่างน้อยต้องคิดเสมอว่า สำนักงานเขตพื้นที่ฯ คือหน่วยงานบริการ ไม่ใช่บังคับบัญชา  การที่ครูติดต่อสำนักงานแล้วกลับโรงเรียนมาด้วยความสบายใจ และอยากจะไปติดต่องานอีก หรือ มาประชาสัมพันธ์ว่าการบริหารแบบเขตพื้นทีดีนั้นคือเป็นความสำเร็จของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา แต่ถ้ามีเสียงบ่นเช้า บ่าย ค่ำ เป็นบ่งชี้ว่า การบริหารแบบเขตพื้นที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง  อีกประการหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษาควรพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยี่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เช่น เจ้าหน้าที่ด้าน Eis, Gpa ฯลฯ เพราะเมื่อสำนักงานเขตฯขอข้อมูลโรงเรียนไปได้จัดทำเป็น แผ่นซีดีรอม มาส่งให้เจ้าหน้าไม่สามารถทำได้ ต้องให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนมาส่งมาทำเองนั้นครูต้องเสียเวลา ในการสอนนักเรียน เสียค่าใช้ในเดินทางมาสำนักงานเขตฯ จึงขอฝากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา(บางเขต)ได้พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีให้มีความรู้ความชำนาญเพื่อบริการโรงเรียนด้วย ปัญหาที่สะท้อนให้เห็นนี้ เป็นปัญหา หนึ่งในหมื่นส่วนของการบริหารแบบเขตพื้นที่ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาว่า ทำอย่างไรให้บุคลากรทั้ง 3 หน่วยงานที่สามารถทำงานกลมเกลียวกัน หน่วยงานที่เคยอยู่ 3 หน่วยงานได้รับการบริการอย่างพึงพอใจและมีประสิทธิภาพ และคุณภาพและสามารถบอกได้ว่า เมื่อบริหารแบบเขตพื้นที่โรงเรียน นักเรียน ชาวบ้านได้อะไรดีขึ้นกว่าเดิม จนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า การบริหารแบบเขตพื้นที่ดีจริงๆ  เสมือนท่านได้ทำกล้วยบวชชีสัก 1 หม้อแล้วผู้บริโภคกล่าวว่า กล้วยบวชชีหม้อนี้อร่อยจริงๆ

     จากเหตุผลดังกล่าวอาจทำให้คุณภาพการบริหารเชิงวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนลดลง.....

           ภาพอนาคตของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
               1. สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาจังหวัด........เขต.....    เมื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาได้แยกไป ก็ยังเหลือโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนเอกชน ก็เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการเขตพื้นที่ประถมศึกษาไปบ้าง เช่น บางเขตพื้นที่เหลือโรงเรียนประถมศึกษาไม่เกิน 100 โรงเรียน ก็ถือว่า เหมาะสมที่สุดแล้ว การบริหารงานได้มีความกระชับยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว และคาดว่าจะมีการเคลื่อนเพื่อให้เกิดเป็นสำนักงานเขตพื้นที่อำเภอต่างๆ ความคิดส่วนตัวมีความเห็นด้วย เพราะเมื่อเป็นสำนักงานเขตพื้นที่อำเภอทำให้การบริหารกระทัดรัดยิ่งขึ้น ความคล่องตัว ความใกล้ชิดมีมากเสมือนสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ  ก่อนปี 2546
      ได้นั่งสนทนากับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แห่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ สอบถามความพึงพอใจ ระหว่างการทำงานสำนักงานเขตพื้นที่ กับ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ พอสรุปได้ว่า เป็นสำนักงานการประถมศึกษาดีกว่าด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การอบอุ่นในการทำงาน การเดินทางปฏิบัติหน้าที่ สะดวกกว่า ฯลฯ
       ดังนั้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำเภอ เกิดขึ้นให้คิดเสียว่า วัฒนธรรมการศึกษาวิวัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติ
            2. สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัด.................. เริ่มแรกคาดว่า น่าจะมี 41 เขตพื้นที่ ซึ่งแยกตามศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ในอนาคตคาดว่า จะเกิดเป็น 76 เขตพื้นที่ สอดคล้องกับ สำนังานเขตพื้นที่อำเภอ...  สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความล้มเหลวของการจัดการศึกษาที่ผ่านมา ที่มองแต่ปฏิรูปโครงสร้าง ซึ่งมองว่า ต้องการให้การศึกษาเป็นเอกภาพโดยมองว่าเหมือนการรวมสิ่งของต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ซึ่งเป็นการรวมเอาความรู้สึก วัฒนธรรมขององค์กรต่างๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก
               ขอแสดงความยินดีกับชาวมัธยมศึกษาที่ได้มีโอกาสมารวมกันอีกครั้งหนึ่ง 6 ปีที่ผ่านมา ขอให้สลัดคราบวัฒนธรรมที่เห็นแก่ตัว ชิงดีชิงเด่นกัน ขึ้นสู่อำนาจตามความต้องการของกิเลส บางคนไม่ได้ด้วยเล่ห์ เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ เอาคาถา มาหันหวล บางคนตะเกียกตะกายขึ้นวิ่งบนทางด่วน ให้ได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อสนองกิเลสของตน ขอวิงวอนให้ดึงวัฒนธรรมมัธยมศึกษาครั้งก่อนๆ ซึ่งเต็มไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บรรยากาศในการบริหารเต็มไปด้วยความอบอุ่น ยิ้ม ไหว้ ให้เกียรติกัน รู้จักคำว่า อาวุโส พี่ใหญ่ดูแลน้องเล็ก น้องเล็กก็เคารพให้เกียรติพี่ใหญ่ อื่นๆ อีกมากมาย ไม่สามารถกล่าวในที่หมด ให้กลับมาจงได้
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/365208



อ่านทั้งหมด / โหลดเอกสารได้ที่  






ฟรี...ข้อสอบออนไลน์ โดย ติวสอดอทคอม  (อ.นิกร)

อัพเดท / เรื่องใหม่

ข่าวการศึกษา

หนังสือราชการ

1.¢èÒÇ»ÃСÒȨҡ ʾÃ. 2.¢èÒǨҡࢵ¾×é¹·ÕèµèÒ§æ

ข่าวประจำวัน

วิดีโอคลิปน่าสนใจ

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม
กลับหน้าหลัก